ภาพถ่าย "เขาสามมุก" ประวัติ kao sam muk บางแสน จ.ชลบุรี

ภาพถ่าย "เขาสามมุก" ประวัติ "kao sam muk" บางแสน จ.ชลบุรี 
หลังจากกลับจาก หาดสวยๆ ใกล้บ้านเรา... หาดบางแสน ก็แวะชมวิว "เขาสามมุก" กันก่อน ที่เขาสามมุก นี้ มีตำนาน ที่แสนเศร้า..แต่ก่อนจะไปพัง ตำนานนั้นเรามาดู ภาพ ที่ผม แวะไปชมวิว ของ บางแสน และเก็บภาพมาภาพ เช่นเคยครับ Photo by Nikon D60 + Kitty ตามเคย...  
อ่าน ประวัติคร่าวๆ เขาสามมุข ต่อ...

เมื่อขับรถขึ้นไปวน รอบๆเขา ก็พบวิว ที่สวย ผมไม่พลาดที่จะหยิบ เจ้า D60 มา จับภาพสวย ๆมา ให้ชมกัน และขอ คำแนะนำด้วยครับ...สำหรับท่านที่อ่านแล้ว ถ้า มีคำติ หรือ ชม คอมเม้น ประการใด ทางผู้เขียน จะได้มีกำลังใจในการ เขียน บทความ ไปเรื่อย ๆครับ....

ภาพนี้ ตอนยืนอยู่ แหลมแท่น บางแสน "เขาสามมุก"
 
ถ้ามี เลนส์ ใหม่ น่าจะถ่าย ได้สวยกว่านี้ เนอะ... ว่าแล้วก็เกิด กิเลส...เซง "เขาสามมุก"
  
ภาพนี้รู้ตัวครับ ว่าแสงจ้าๆๆ มากๆ ยอนแสงสุด ๆ "เขาสามมุก"
   
นี้ก็อีกภาพ 1 ยอนแสง สุด ๆ ผม จับภาพ ช่วงเวลา บ่ายสาม โมงครับ แดด ตรง พอดี..."เขาสามมุก"
   
อยากจะบอกว่า ภาพนี้ ถ้า ใครเคยดู การ์ตูน Initial D ดริฟท์ติ้ง ซิ่งสายฟ้า นึกถึง เขาอากินะ ในเรื่องเลยครับ แต่ เป็น "เขาสามมุก" บางแสน แทน...555+
   
นี้ก็อีกภาพนึงครับ  เขาอากินะ ในเรื่องเลยครับ แต่ เป็น "เขาสามมุก" บางแสน แทน..ส่วนใหญ่ผมชอบ ถ่ายภาพแนวตั้งมาก...เลย อะไร ๆ ก็จะ ตั้งไปหมด....

 
ส่วนภาพนี้ ก็ เป็นวิว เมือง ชลบุรี ครับ แต่จะมองไม่ค่อยชัดนะ มีเจ้าลิงน้อย แย่งซีน.. "เขาสามมุก" 
   
ภาพที่ผมประทับใจ.....ที่ "เขาสามมุก" บางแสน
   
รูปนี้วิว อ่างศิลา แท้ๆๆ ไม่ใช่เมืองชล ครับ... "เขาสามมุก" บางแสน
   
บันทึกไม่ทันตอน ลิงหันหน้า...สักที..."เขาสามมุก" บางแสน
   
รูปนี้ในส่วนตัวผมชอบมากครับ  ดู ART ดี... เอ๊กๆ "เขาสามมุก" บางแสน
 
มาอ่าน ตำนาน ที่แสนเศร้า เขาสามมุก” กันครับ


เขาสามมุก” เป็นเนินเขาเตี้ยๆ อยู่กึ่งกลางระหว่างบ้านอ่างศิลาและ หาดบางแสน ขับรถไปตามถนนเลียบริมหาด จากอ่างศิลาเป็นทางลาดขึ้นไปนั่นก็คือบริเวณที่เรียกกันว่า เขาสามมุก และเขาสามมุกเป็นที่อยู่อาศัยของฝูงลิงจำนวนมาก ส่วนศาลเจ้าแม่สามมุกตั้งอยู่บริเวณเชิงเขา และ ที่มุมหนึ่งของศาลเจ้าแม่สามมุก มีผู้เขียนถึงตำนานความรักของท่านไว้ดังนี้
   
       ..."
เมื่อปลายรัชสมัยกรุงศรีอยุธยาบริเวณบางแสนและเขาสามมุข ยังไม่มีบ้านเรือนและผู้คนหนาแน่นเหมือนปัจจุบันนี้ ชื่อบางแสนและเขาสามมุขก็ยังไม่ปรากฏ จะมีก็แต่ตำบลอ่างหิน ในปัจจุบันก็คือตำบลอ่างศิลาอันเป็นชุมชนของชาวประมงริมทะเล" ณ. ตำบลอ่างหินนี่เอง (อ่างศิลา) มีเจ้าของชื่อโป๊ะ หรือที่ชาวบ้านรู้จักกันในนามว่า “กำนันบ่าย” มีลูกชายชื่อว่า “แสน” 

       ..."จากตำบลอ่างหินออกไปพอประมาณมียายหลานอาศัยกันอยู่คู่หนึ่ง ยายมีชื่อเสียงเรียงนามใดไม่ได้ปรากฏไว้ ส่วนหลานสาวนั้นมีชื่อว่า “สามมุข” อาศัยอยู่ในเมืองปลาสร้อย (จังหวัดชลบุรีในปัจจุบัน) เมื่อบิดามารดาเสียชีวิตลง ก็ได้มาอาศัยอยู่กับยายจนกระทั่งโต “สามมุข” มักจะชอบมานั่งเล่นดูหนุ่มสาวรวมทั้งเด็กที่มาเล่นว่าวในหน้าลมว่าวอยู่ริมเชิงเขาเป็นประจำ และมีเพื่อนที่คอยหยอกล้อเล่นเป็นประจำก็คือลิงป่าที่ลงมาจาก เขาสามมุก"
   
      ..."อยู่มาวันหนึ่งขณะที่ “สามมุข” กำลังนั่งเล่นอยู่ ก็ได้มีว่าวตัวหนึ่งขาดลอยลงมาตกอยู่ที่หน้าของ
“สามมุข” เธอจึงเก็บว่าวตัวนั้นไว้และ มีเด็กหนุ่มชื่อแสนวิ่งตามว่าวที่ขาดลอยมาจึงได้พบกับ “สามมุข” เขาทั้งสองได้รู้จักกันและ แสนก็ได้มอบว่าวตัวนั้นไว้เป็นที่ระลึก หลังจากนั้นทั้งสองก็ได้พบปะกันเรื่อยมาจนเกิดเป็นความรัก และได้สาบานต่อหน้าขุนเขา(เขาสามมุก) ปัจจุบัน แห่งนี้ว่า ทั้งสองจะครองรักกันชั่วนิรันดร หากใครผิดคำสาบานนี้จะกระโดดหน้าผาแห่งนี้ตายตามกันและแสนได้มอบแหวนวงหนึ่งให้แก่ “สามมุข” ไว้เพื่อเป็นพยาน"
   
       ..."เมื่อกำนันบ่ายซึ่งเป็นพ่อของแสน ได้ทราบเรื่องเข้าก็เกิดความไม่พอใจ แสนได้พยายามขอร้องผู้เป็นพ่อให้ไปสู่ขอ
“สามมุข” แต่กำนันบ่ายก็กีดกันและ กักบริเวณแสนไว้ จึงทำให้ทั้งสองไม่ได้พบหน้ากัน หลังจากนั้นกำนันบ่ายก็ได้ไปสู่ขอลูกสาวคนทำโป๊ะให้กับแสนและ กำหนดพิธีการแต่งงานขึ้น ข่าวนี้ได้แพร่กระจายไปทั่วอ่างหิน (อ่างศิลา) จน “สามมุข” เองก็ได้รับรู้ถึงข่าวนี้ด้วย ในวันแต่งงานของแสนได้มีการจัดงานกันอย่างใหญ่โต สมเกียรติกับที่เป็นงานของกำนันบ่าย"
   
       ..."ตลอดระยะเวลาที่แขกได้ทยอยเข้ามารดน้ำสังข์อวยพรให้คู่บ่าวสาวทั้งสอง แสนได้แต่ก้มหน้านิ่งเสียใจอยู่กับตัวเองที่ไม่สามารถทำอะไรได้ จนกระทั่งแสนรู้สึกว่ามีน้ำสังข์ลดลงมาพร้อมกับแหวนวงหนึ่งตกลงมาด้วย แสนจำได้ดีว่าแหวนวงนี้เขาเป็นคนมอบให้
“สามมุข” แต่พอเงยหน้าขึ้น “สามมุข” ก็ได้วิ่งจากออกไปแล้ว แสนได้หวนคิดถึงคำสาบานที่ได้ให้กับ “สามมุข” ไว้ จึงรีบวิ่งไปที่เชิงเขาแต่ก็สายไปเสียแล้ว “สามมุข” ได้ขึ้นไปที่หน้าผานั้นแล้วทิ้งร่างที่ไร้หัวใจลงดิ่งสู่ก้นผาสิ้นชีพอยู่ริมทะเล แสนผู้ที่ให้คำสาบานไว้กับ “สามมุข” เขาจึงกระโดดลงหน้าผาตาม “สามมุข” หญิงสาวสุดที่รักไป"
   
       ..."จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ชาวบ้านที่ทราบข่าวพากันเศร้าสลดใจเป็นอย่างมาก จึงพากันสาปแช่งกำนันบ่าย ต่อมากำนันบ่ายได้นำถ้วยชามสิ่งของต่างๆ มาไว้ในถ้ำตรงหน้าผาแห่งนั้นและตั้งชื่อภูเขาลูกนี้ว่า “เขาสามมุข” และชายหาดที่ติดกันว่า “หาดบางแสน” เพื่อเป็นอนุสรณ์รักแด่คนทั้งสองจนถึงปัจจุบัน"

   
      
... ต่อมาชาวบ้านในแถบนั้นเล่าว่า "เมื่อตกดึกได้พบเห็นร่างของหญิงสาวมายืนอยู่ตรงหน้าผานั้น เป็นประจำทุกคืน” ชาวบ้านจึงได้ช่วยกันสร้างศาลนี้ขึ้นเพื่อ เป็นที่สิงสถิตและ เป็นที่เคารพสักการะแก่ชาวบ้านและชาวประมงเมื่อเวลาที่จะ ออกเรือไปหาปลามักจะมีการมาจุดประทัดบนบาน ขอให้ได้ปลากลับมาเต็มลำเรือ อย่าต้องเผชิญกับลมพายุบางครั้งเจอลมพายุกลางทะเลก็จุดธูปบน เจ้าแม่สามมุข ให้รอดปลอดภัยจากอันตรายก็สัมฤทธิ์ผลเรื่อยมา...
   
       
จากนั้นเมื่อเรื่องราวความรักอันยิ่งใหญ่ของ เจ้าแม่สามมุข นั้นแพร่กระจายออกไป ก็มักมีคู่รักชายหญิง มาอธิษฐานขอให้ความรักของตนสมหวัง โดยเขียนชื่อตนกับคนรักไว้บนว่าว แล้วแขวนไว้บริเวณศาลโดยเชื่อกันว่า เจ้าแม่สามมุก จะดลบันดาลให้ทุกคู่รักสมหวัง และไม่พลัดพรากจากกันเหมือนดังในตำนาน


แผนที่ "เขาสามมุก"