EV มีประโยชน์อย่างไร

EV มีประโยชน์อย่างไร Nikon d60
ผมมั่นใจอย่างมากว่า ผู้ที่ซื้อกล้องถ่ายภาพส่วนใหญ่มักจะดูคุณสมบัติของกล้องพวก ความเร็วชัตเตอร์ ระบบปรับความชัด ระบบวัดแสง ลูกเล่นต่าง ๆ น้อยคนนักที่จะดูคุณสมบัติของกล้องเจาะลึกไปถึงระดับความ สว่างของแสงที่กล้องสามารถทำงานได้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติข้อหนึ่งของกล้องถ่ายภาพที่มีความสำคัญมาก และได้ใช้งานบ่อยครั้งในการถ่ายภาพภายใต้สภาพแสงน้อย ๆ เช่น ถ่ายภาพกลางคืน ถ่ายภาพในอาคารมืด ๆ ถ่ายภาพในถ้ำ หรือถ่ายภาพวิวช่วงโพล้เพล้ ซึ่งถ้ากล้องมีความสามารถในการวัดแสงน้อย ๆ ไม่พอ กล้อง
 อ่านต่อ...EV มีประโยชน์อย่างไร


 อาจจะทำงานแปลก ๆ เช่น ในระบบวัดแสง สเกลวัดแสงกระพริบ สเกลแสดงแต่ค่า Over และ Under ไม่สามารถปรับให้เป็น Normal ได้ หรือวัดแสงผิดพลาดไปมากทั้ง ๆ ที่ปกติก็ทำงานได้ดี ไม่มีปัญหา ส่วนระบบปรับความชัดอัตโนมัติ กล้องไม่สามารถปรับความชัดได้ หรือปรับความชัดช้ามาก ๆ เป็นต้น
ระบบวัดแสงทำงานโดยอาศัยโฟโต้ไดโอด เช่น Silicon Bule Cell , Gallium Photo Diode ซึ่งเซลเหล่านี้

เมื่อได้รับแสงจะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าในปริมาณที่น้อยมาก ๆ และจะมีวงจรไฟฟ้าทำหน้าที่ขยายสัญญา
นไฟฟ้าอีกทีหนึ่ง หากปริมาณแสงมากเกินไปหรือน้อยเกินไปจะทำให้ไฟฟ้ามากเกินกว่าที่เซลรับแสงเหล่านี้
จะทำงานได้ จะทำให้ระบบไม่สามารถทำงานได้หรือทำงานแล้วเกิดการผิดเพี้ยนไปจนขาดความแม่นยำมาก
เกินไป ช่วงปริมาณแสงที่เซลรับแสงทำงานได้เราเรียกว่า Sensitivity Range หรือ Metering Range ซึ่งจะ
ระบุอยู่ในคู่มือกล้องหรือ Catalog ในส่วนของ Specification ของกล้องรุ่นนั้น ๆ เสมอ เช่น
1. Nikon F5 : Metering Range( at ISO 100 with f/1.4 lens): EV 0 to 20 in 3D Color Matrix and
Center-Weighted , EV 2 to 20 in spot
2.Nikon F100 : Metering Range( at ISO 100 with f/1.4 lens): EV 0 to 21 in 3D Color Matrix and
Center-Weighted , EV 3 to 20 in spot
3.Olympus OM4T : Metering Range( at ISO 100 with f/1.2 lens): EV -5 to 19 in TTL(OTF)
Center-Weight , EV 0 to 19 in spot
ความไวแสงของเซลวัดแสงของกล้องแต่ละรุ่นจะไม่เท่ากัน เนื่องจากการใช้เซลวัดแสงคนละรุ่นกัน หรือแม้แต่กล้องตัวเดียวกัน ค่าความไวแสงของเซลวัดแสงก็จะไม่เท่ากันในแต่ละระบบวัดแสง เพราะมีการใช้เซลวัดแสงคนละตัว หรือใช้พื้นที่ของเซลวัดแสงไม่เท่ากัน เช่น Nikon F5 ใช้เซลวัดแสงที่หน้าระนาบฟิล์มเมื่อวัดแสงแบบ Spot และวัดแสงแฟลช และใช้เซลวัดแสงที่อยู่บน Prism เมื่อวัดแสงต่อเนื่องในระบบเฉลี่ยหนักกลางและแบ่งพื้นที่ในความเป็นจริง ช่วงการวัดแสงที่เซลวัดแสงสามารถทำได้จะขึ้นกับปริมาณแสงที่ตกลงเซลวัดแสง ซึ่งก็ขึ้นกับปริมาณแสงที่สะท้อนออกจากวัตถุ และความสว่างของเลนส์หรือ F-Number และความไวแสงฟิล์มที่ปรับตั้งเอาไว้ด้วย ดังนั้นเมื่อมีการบอกช่วงการทำงานของเครื่องวัดแสงจึงต้องมีการระบุค่า F-Number และความไวแสงฟิล์มด้วย มาตรฐานจะใช้ที่ ISO 100 เลนส์ 50mm.F1.4 บางรายก็จะเป็น F1.2 ซึ่งจะทำให้แสงที่ผ่านเลนส์เข้าไปมากกว่า และเซลวัดแสงสามารถทำงานได้ที่ EV ต่ำกว่ายิ่งเซลวัดแสงสามารถทำงานได้ช่วงกว้างมากเท่าไรยิ่งดีมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะในช่วง EV ต่ำจะได้ใช้งานมากกว่า EV สูง

ค่า EV คืออะไร
ค่า EV หรือ Exposure Value คือค่าที่บ่งบอกถึงปริมาณแสง ได้มาจากการคำนวนความเร็วชัตเตอร์และช่องรับแสงในระบบ Log ตามสูตร EV = 3.322 log ( ตัวเลขช่องรับแสงยกกำลัง 2 / ตัวเลขความเร็วชัตเตอร์) ตัวเลขช่องรับแสงคือ ค่า F-Number เช่น f/11 ใช้ค่า 11 ส่วนความเร็วชัตเตอร์ เช่น 1/125 วินาที ใช้ 125 แต่ถ้าเป็น 4 วินาที ใช้ ¼ หรือ 0.25 เป็นต้น

ค่า EV จึงเป็นผลรวมการจับคู่ระหว่างความเร็วชัตเตอร์และขนาดช่องรับแสง 1EV มีค่าเท่ากับ 1 stop
สามารถแปรค่าเป็นความสว่างของแสงในหน่วยต่าง ๆ ได้ดังนี้

ประโยชน์ของค่า EV ในปัจจุบันอาจจะไม่มีมากนักในการใช้งานกับกล้องขนาด 35มม. เพราะการวัดแสงจะบอกออกมาในรูปแบบของความเร็วชัตเตอร์หรือขนาดช่องรับแสง และผู้ใช้คุ้นเคยกับการใช้งานในระบบStop มากกว่า แต่ EV ยังมีการใช้งานในกล้องบางตัว เช่น Hasselbald รุ่นเก่า ๆ หรือเลนส์สำหรับกล้องวิวเราสามารถวัดแสงเป็น EV แล้วตั้งค่า EV ที่ต้องการ ล็อคเอาไว้ จากนั้นเราสามารถปรับช่องรับแสงหรือความเร็วชัตเตอร์ไปที่ค่าใดก็ได้ โดยค่าที่เหลือจะปรับตาม เช่น เราปรับช่องรับแสง ความเร็วชัตเตอร์จะปรับตามเพื่อให้ EV คงเดิม สะดวกในการใช้งานมาก

สำหรับการใช้งานของมือสมัครเล่นกับกล้องขนาด 35มม. ค่า EVมีประโยชน์ในการดูความสามารถในการวัดแสงและปรับความชัดของกล้อง เช่น A สามารถวัดแสงในระบบ spot ได้ต่ำสุด EV2 ที่ ISO 100 เลนส์ 1.4

หมายความว่า
1. กล้องวัดแสงได้ต่ำสุด ½ วินาที f/1.4 หรือ ถ้าต่ำกว่านี้ เช่น 2 วินาที f/1.4 กล้องอาจจะไม่แสดง
ค่าการเปิดรับแสง หรือแสดงให้แต่ช่วงความผิดพลาดอาจจะมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนดเอาไว้
2. หากไปใช้เลนส์ที่มีช่องรับแสงกว้างสุด f/5.6 ปริมาณแสงที่ตกลงเซลวัดแสงจะลดลง 4EV ทำให้ช่วงการ

 ค่า EV คืออะไร


 
ค่า EV คืออะไร
วัดแสงต่ำสุดจะเปลี่ยนเป็น EV6 ความสามารถในการวัดแสงในสภาพแสงน้อยจะลดลง หากต้องการวัดแสงในสภาพแสงน้อย ๆ ควรใช้เลนส์ช่องรับแสงกว้าง ๆ จะช่วยให้สามารถวัดแสงได้ดีกว่า
3. การเพิ่มความไวแสงฟิล์มไม่ได้เป็นการเพิ่มแสงที่ตกลงเซลวัดแสง เพียงแค่ให้กล้องสามารถแสดงค่าการ วัดแสงที่อาจจะตกสเกลวัดแสงออกมาได้เท่านั้น หรือกล้องบางตัวจะไม่แสดงค่าแสงให้เพราะพ้นช่วงการทำงานของเครื่องวัดแสงไปแล้ว ดังนั้น หากวัดแสงที่ ISO สูง ๆ ในสภาพแสงน้อยแล้วต้องการภาพที่ดีจริง ๆไม่มีพลาด ควรถ่ายภาพคร่อมค่าการเปิดรับแสงเอาไว้ด้วย

 อ่านต่อ...ไพล์ pdf EV มีประโยชน์อย่างไร
เครดิต http://www.rpst-digital.org