เข้าใจระบบวัดแสง (Light Metering) DSLR

เข้าใจระบบวัดแสง (Light Metering)


เรามาเรียนรู้วิธีที่กล้องของคุณมองโทนภาพจะช่วยให้คุณได้ค่าการเปิดรับแสงที่คุณต้องการระบบวัดแสงในกล้อง DSLR นั้นมีอยู่สามรูปแบบหลักด้วยกัน ซึ่งได้แก่ เฉลี่ยทั้งภาพเฉลี่ยหนักกลางเหมือนกล้องฟิล์มแมนนวลสมัยก่อน...





และ เฉพาะจุดหรือเฉพาะส่วนซึ่งจะให้ความแม่นยำสูงที่สุดแต่ก็ยอมรับเถอะ ว่าพวกเราทั้งหลายต่างนิยมใช้ระบบวัดแสงแบบเฉลี่ยทั้งภาพซึ่งในสถาณการณ์ส่วนใหญ่แล้วมันก็มักจะให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องแต่คุณก็จำเป็นต้องระวังสภาพแสงบางรูปแบบที่มัหจะทำให้ผลลัพธ์ผิดเพี้ยนไปและเรียนรู้วิธีแก้ไขให้มันถูกต้อง และเพื่อความแน่ใจว่าคุณจะไม่พลาดจังหวะสำคัญไปคุณก็จะต้องเรียนรู้ทิศทางการหมุนวงแหวนเพื่อนควบคุมเอฟเฟคท์ที่คุณต้องการโดยต้องไม่ละสายตาจากช่องมองภาพ ตัวอย่างเช่น หากคุณถ่ายภาพแอคชั่น และคุณต้องการเปลี่ยนค่ากล้องอย่างรวดเร็ว เพื่อนเปลี่ยนจากการหยุดความเคลื่อนไหวไปเป็นความเบลอที่สร้างสรรค์ ด้วยเหตุนี้คุณจึงจำเป็นที่จะต้องทราบว่าทิศทางใดที่จะทำให้คุณได้รูรับแสง
ที่เล็กลงและความไวชัตเตอร์ที่ช้าลง ซึ่งก็เป็นเช่นเดยีวกันกับการชดเชยค่า การเปิดรับแสง ทิศทางใดที่จะลดค่าการเปิดรับแสงและทิศทางใดที่จะทำให้เพิ่มขึ้น


ระบบวัดแสงเฉลี่ยหนักกลาง (Centre-weighted-metering) 

ระบบวัดแสงเฉลี่ยหนักกลางมักจะให้ผลลัพธ์ที่ดีในการถ่ายภาพบุคคล เนื่องจากมันจะให้ความสำคัญบริเวณกลางภาพซึ่งก็มักจะเป็นตำแหน่งของตัวแบบ ผลลัพธ์ที่ได้มักจะคาดเดาได้มากกว่าระบบวัดแสงเฉลี่ยทั้งภาพ เพราะระบบวัดแสงแบบนี้ ไม่ได้ใช้ อัลลอริทึ่มที่ซับซ้อนเหมือนกับระบบวัดแสงเฉลี่ยนั่นเอง


ระบบวัดแสงเฉพาะจุด (Spot-metering) 

ระบบวัดแสงเฉพาะจุดเป็นคู่ที่เหมาะกับโหมดแมนนวลแต่โหมดกึ่งแมนนวลก็มักจะเป็นอีกวิธีหนึ่งในวิธีการหาค่าการเปิดรับแสงที่ดีเช่นกัน ด้วยการผสานการใช้งานโหมดปรับตั้งรูรับแสงเอง หรือปรับความเร็วชัตเตอร์เอง กับระบบวัดแสงแบบเฉพาะจุดหรือเฉพาะส่วน พร้อมกับปุ่มล็อคค่าการเปิดรับแสง บนกล้องคุณ เพียงเท่านี้คุณก็สามารถทำงานได้เหมือนกับที่คุณใช้โหมดแมนนวลเช่นกัน เพียงแค่เล็งกล้องไปยังพื่นที่โทนสีเทากลางอย่างเช่น ทางเท้า หรือสนามหญ้าที่อยู่ภายใต้ สภาพแสงเดียวกับตัวแบบ จากนั้นก็กดปุ่มล็อคค่าแสง แล้วจัดองค์ประกอบใหม่อีกครั้ง

ภาพด้านล่างนี้จะแสงให้เห็นถึงสัญลักษณ์ของโหมดการวัดแสงประเภทต่างๆของกล้อง Nikon


ระบบวัดแสงเฉลี่ยทั้งภาพของกล้อง Nikon นั้นจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างออกไปคือ 3D Matrix Metering
 
งงกับระบบวัดแสง สับสนกับค่าการเปิดรับแสง
มาดูภาพรวมที่ชัดเจนกับคู่มือแนะ นำการใช้ล้องฉบับรวบรัดกันดู...
ใน บทความนี้เราจะครอบคลุมการปรับค่ากล้องต่างๆ ที่มักสร้างความสับสนให้คุณบ่อยๆ ซึ่งก็คือการวัดแสงและค่าการเปิดรับแสง ทั้งสองอย่างนี้เป็นประเด็นที่มักถูกถามอยู่บ่อยๆ











 




        เริ่มต้นด้วยโหมดที่เหมาะสม

ปรับตั้งรูรับแสงเอง (Aperture Priority) 

เป็นโหมดที่ใช้งานง่ายและสามารถใช้รับมือได้ทุกสถาณการณ์เพราะสิ่งที่คุณต้ิองทำคือการเลือกรูรับแสงตามเอฟเฟคท์ที่คุณต้องการ รูรับแสงแคบ ค่า f สูงๆ จะให้ระยะชัดลึกที่สูง ขณะที่รูรับแสงที่กว้า่ง ค่า f ต่ำๆ จะให้ระยะชัดลึกที่ตื้น และยังช่วยสร้างการแบ่งแยกตัวแบบออกจากฉากหลงได้อย่างชัดเจน โดยที่กล้องทำหน้าที่เปลี่ยนค่าความไวชัตเตอร์เพื่อให้ได้ค่าการเปิดรับแสง ที่พอดี แต่คุณยังต้องสังเกตค่าความไวชัตเตอร์ในขณะที่คุณเปลี่ยนรูรับแสงด้วย เพราะค่าความไวชัตเตอร์จะต้องมีความเร็วพอที่จะหยุดการเคลื่อนไหวของตัวแบบ (ถ้านั่นเป็นสิ่งที่คุณต้องการ) หรือเพื่อหยุดการสั่นไหวของกล้องได้


ปรับตั้งความเร็วชัตเตอร์เอง  

เลือกใช้โหมดนี้หากคุณต้องการควบคุมรูปแบบของการเคลื่อนไหวที่จะปรากฏในภาพถ่ายด้วย การปรับหมุนวงแหวนควบคุมที่กล้องของคุณ คุณก็จะสามารถเปลี่ยนจากค่าความไวชัตเตอร์สูงมาเป็นค่าการเปิดรับแสงที่ยาว นานได้ด้วยความรวดเร็ว ไม่ว่าคุณจะต้องการหยุดการเคลื่อนไหวของตัวแบบ หรือการสร้างสรรค์ความเบลอก็ได้ทั้งนั้น ดังนั้นโหมดนี้จึงเหมาะสำหรับการทดลองแพนกล้องถ่ายภาพตัวแบบและหาเอฟเฟคท์ ที่แตกต่างกัน หากคุณต้องการลดความเสี่ยงของความเบลอที่เกิดจากกล้องสั่น ให้คุณเปลี่ยนมาใช้โหมดนี้ และหมุนแป้นควบคุมให้ได้ค่าความไวชัตเตอร์ที่เท่ากับช่วงทางยาวโฟกัสของ เลนส์ ดังนั้นให้ใช้ 1/100 วินาที สำหรับเลนส์ 100 มม. หรืออาจจะเพิ่มค่าให้เป็นสองเท่า เพื่อความมั่นใจ

โปรแกรม โหมดค่าการเปิดรับแสงอัตโนมัติ (Program) 

เป็นอีกหนึ่งขั้นที่เหนือขึ้นมาจากโหมดเล็งแล้วถ่ายกล้อง จะเป็นตัวปรับค่ารูรับแสงและค่าความไวชัตเตอร์โดยอัตโนมัติเพื่อหาค่าเปิด รับแสงที่ “ถูกต้อง” สำหรับตัวแบบและสภาพแสงที่มีคุณจะสามารถปรับเปลี่ยนค่ารวมของรูรับแสงและค่า ความไวชัตเตอร์ได้และยังสามารถปรับแก้ค่าอื่นๆ อย่างเช่นการชดเชยแสงได้ ช่างภาพจำนวนมากพบว่าโหมดนี้ให้ผลลัพธ์ที่ดีมาก ซึ่งนี่ก็เป็นเหตุผลว่าทำไมคุณจึงยังต้องพบโหมดนี้ในกล้องถ่ายภาพระดับมือ อาชีพ

แมนนวล ลองใช้โหมดแมนนวล (Manual)  

นี้ดูเพื่อค่าการเปิดรับแสงที่แม่นยำตามชื่อของมันในโหมดแมนนวลนี้คุณจะสามารถควบคุมการตัดสินใจทุกอย่างด้วยตัวของคุณเอง ทุกอย่างจะขึ้นอยู่กับว่าคุณจะเลือกใช้ค่าความไวแสง ค่าความไวชัตเตอร์ และรูรับแสงของเลนส์อย่างไรเพื่อให้ได้ค่าการเปิดรับแสงที่คณต้องการ เครื่องวัดแสงจะบอกให้คุณทราบว่าภาพของคุณนั้นจะโอเวอร์หรืออันเดอร์ แค่นั่นก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบระบบวัดแสงที่คุณใช้และความสว่างและมือของตัวแบบ ที่คุณกำลังเล็งกล้องเข้าไป
 
ขอขอบคุณ = เครดิตจากblog* pixpros.blogspot.com