วัดเจดีย์ซาวหลัง Wat Chedi Sao Lang Lampang



วัดเจดีย์ซาวหลัง Wat Chedi Sao Lang

หมายถึง เจดีย์ 20 องค์ ( "ซาว" แปลว่า ยี่สิบ "หลัง" แปลว่า องค์ )  องค์พระธาตุเจดีย์ซาวเป็นศิลปะล้านนาผสมพม่า ข้างหมู่บ้านพระ เจดีย์ซาว มีวิหารหลังเล็กประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดปางสมาธิ ศิลปะเชียงแสน ชาวบ้านพระเจดีย์ซาว เรียกว่า "พระพุทธรูปทันใจ" ด้านหลังพระอุโบสถได้จัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงโบราณวัตถุที่ชาวบ้านพระ เจดีย์ซาว นิยมนำมาถวาย จากหลักฐานการขุดพบพระเครื่องสมัยหิริภุญชัยที่องค์พระเจดีย์ ทำให้สันนิฐานได้ว่าวัดนี้สร้างมานานกว่าพันปี...
ประวัติ วัดเจดีย์ซาว อ่านต่อ...
ภาพถ่ายจาก Nikon D60 คร๊าบๆ...

วัดเจดีย์ซาว หรือวัดเจดีย์ซาวหลัง หรือวัดป่า เจดีย์ซาวหลัง เมื่อผ่านประตูวัดเข้าไปแล้ว มองตรงไปจะเห็นอุโบสถ และทางซ้ายของอุโบสถคือ กลุ่มเจดีย์สีขาวบริสุทธิ์ เขาบอกว่ามี ๒๐ องค์ เป็นที่ล่ำลือบอกต่อๆ กันมา ว่าให้ลองนับดูหากใครนับได้ครบ ๒๐ องค์ ก็ถือว่ามีบุญ หรือจะอธิษฐานขออะไรก็จะได้ ผมได้ลองนับดูแล้วครับ ที่แรกผมนับไม่ถึง ๒๐ องค์ นะ เหมือนจะไม่มีบุญกะเค้า เลย ตั้งจิตร อธิษฐาน แล้วลองนับใหม่อีกครัง มี ๒๐ องค์จริงๆ ด้วยครับ พูดแล้ว ขนลุก...



"วัดเจดีย์ซาว"

ไม่มีใครทราบได้แน่นอนว่าวัดเจดีย์ซาวสร้างเมื่อใด แต่ดูจากอายุพระเครื่องที่ขุดพบที่บริเวณเจดีย์ ประมาณว่าอายุน่าจะถึงพันปี และเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ ได้เริ่มมีการบูรณะจากสภาพวัดร้างให้เป็นวัด ซึ่งในตอนนั้น เป็นป่ารกชัฏมีต้นไม้ใหญ่น้อยขึ้นปกคลุม บรรยากาศเงียบสงัดไม่มีเสนาสนะใด ๆ ในวัด คงมีแต่กลุ่มพระเจดีย์อยู่ในดงไม้ที่ปกคลุมอยู่ พร้อมกับเนินซากวิหารด้านเหนือ และมีปะรำมุงหญ้าคาหลังเล็ก ๆ พอเป็นที่กำบังฝนชั่วคราวของชาวบ้านในถิ่นนั้น ทำขึ้นเพียงเพื่อไว้ประกอบกิจการกุศลในวันเพ็ญเดือน ๙ ต่อมาได้มีพระภิกษุชาวพม่าชื่อ อูวะยันต่าเถระ ซึ่งเล่าเรียนจบพระไตรปิฎกมาจากเมืองมัณฑะเล ประเทศพม่า ได้รับมอบหมายจากคณะสงฆ์พม่า ให้มาทำการสอนพระบาลีคัมภีร์พระไตรปิฎกแก่พระสงฆ์พม่าในนครลำปาง ในการมาครั้งนั้นท่านได้นำตำนานวัดเจดีย์ซาวติดตัวมาด้วย สันนิษฐานกันว่า เพราะลำปางตกอยู่ใต้อำนาจของพม่า เมื่อพม่ามารุกราน หัวเมืองฝ่ายเหนือได้ชัยชนะแล้ว ก็ขนเอาของมีค่ากลับไปเมืองพม่าด้วย


"วัดเจดีย์ซาว"

ในตำนานที่พม่านำมานั้นกล่าวว่า เมื่อประมาร ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว มีพระอรหันต์ ๒ องค์ จาริกมาจากชมพูทวีป เพื่อประกาศพระพุทธศาสนา และได้มาพำนัก ณ สถานที่แห่งนี้ เป็นสถานที่จำพรราา เผยแพร่ศิลธรรม เทศนาสั่งสอนแก่ผู้คนในถิ่นใกล้เคียงนั้น ต่อมามีพระยาองค์หนึ่งนามว่า พระยามิลินทร์ ได้มาพบปะพระอรหันต์แล้วไต่ถามปัญหาธรรมะข้อข้องใจต่าง ๆ ได้รับการชี้แจงให้รอบรู้ในเหตุและผล จึงเกิดศรัทธาเลื่อมใสในองค์พระอรหันต์ทั้งสอง จึงได้ปรวารณาตนเป็นศิษย์ และประสงค์จะสร้างถาวรวัตถุขึ้น ณ ที่นั้น จึงขอเส้นเกษาจากพระอรหันต์ ๒ องค์


"วัดเจดีย์ซาว"
เมื่อพระเถระได้นำตำนานมาด้วย จึงอ่านตำนานนั้นให้ชาวบ้านฟัง ชาวบ้านต่างมีศรัทธาจึงออกค้นหาพระธาตุของพระอรหันต์จนพ (ไม่ได้บอกว่าพบเมื่อไร และอ่านให้ฟังเมื่อไร) และร่ำลือกันไปทั่ว จนทราบไปถึงเจ้าบุญวาทย์มานิต ท่านจึงรับเป็นประธานในการปฏิสังขรณ์ พร้อมด้วยพุทธศาสนิกชนชาวไทย พม่า และไทยใหญ่ เสร็จเรียบร้อยเมื่อกุมภาพันธ์ ๒๔๖๖ แต่เจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต ได้ถึงแก่พิราลัยก่อนที่การบูรณะจะเสร็จ แต่ศรัทธาโดยการนำของทายาทเจ้าพ่อ ก็ทำต่อกันมาจนเรียบร้อย และได้จักงานสมโภชเมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๔๖๗


"วัดเจดีย์ซาว"

ขอขอบคุณ เคดริต ประวัติ