D60 รุ่นพิเศษ [ดำทอง] Black Gold Special Edition
เรามาดูสิว่า Nikon D60 รุ่นพิเศษ "ดำทอง" (Black Gold Special Edition) มีวางขายมาตั้งแต่ช่วงปีที่แล้ว ผมขอเอารายละเอียดมาฝากกับชาว D60 Club กันครับ..
ป้ายกำกับ:
D60 รุ่นพิเศษ,
d60 club
เคล็ดลับการใช้กล้อง_Tip of the camera DSLR
วิธีที่ 1 ไวท์บาลานซ์
เมื่อคุณเจอสิ่งที่ต้องการจะถ่าย จัดองค์ประกอบ และโฟกัสเรียบร้อยแล้วให้ปรับค่าไวท์บาลานซ์ตามสภาพอากาศในขณะนั้นค่าไวท์บาลานซ์ที่ไม่ถูกต้องไม่เพียงจะสร้างความสับสนให้กับภาพในจอ LCD
เท่านั้น แต่มันยังส่งผลต่อค่า Histogram ของค่าการเปิดรับแสงอีกด้วย
หากคุณอยากจะรู้ว่ามันเป็นอย่างไร ลองเปิดภาพ RAW ในโปรแกรม
Photoshop Element แล้วลองปรับค่าไวท์บาลานซ์ จากนั้นลองดูว่า
Histogram เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร...
ป้ายกำกับ:
ค่าการเปิดรับแสง,
ค่า ISO,
ไวท์บาลานซ์,
โหมดถ่ายภาพ
วิธีถือกล้องให้นิ่ง Hold the camera still
ลักษณะท่าทางการจับถือกล้องให้มั่นคงในแต่ละแบบเพื่อเพิ่มโอกาศในการได้ภาพ เพราะว่าการจับกล้องให้มั่นคงนั้นจะลดการสั่นไหวการภาพ ทำให้ได้ภาพที่คมชัดครับ...
ป้ายกำกับ:
วิธีถือกล้องให้นิ่ง
Nikon โบชัวร์ ล่าสุด เป็นข่าวตอนนี้...!!_Low Price จริงรึ !
Nikon D5000 + Lens 18-55 VR
เซ็นเซอร์รับภาพ CCD Nikon DX Format ความละเอียด 12.9 ล้านพิกเซล ตัวเซ็นซอร์และโมดูลทำความสะอาด view ช่วงความไวแสงกว้าง ISO 200-6400 ระบบโฟกัส 11..
ลดราคา 24,900.00 ฿
ป้ายกำกับ:
ราคาNikon D3000,
ราคาNikon D5000
เทคนิคการถ่ายภาพ ผมได้รวบรวมมาฝากครับ
เทคนิคการถ่ายภาพ
เรียกได้ว่าของเค้าดีจริงๆ รวบรวมรูปภาพและเทคนิดการถ่ายภาพระดับเทพก็ว่าได้...
ป้ายกำกับ:
เทคนิคการถ่ายภาพ
สดๆร้อนๆ คู่มือภาษาไทย Nikon D60 Thai ครับ ของจริง download ได้ชั๋ว ขนาดไพล์ 2,577 KB
ผมต้องขออภัยด้วยที่ลิ้งเก่าในบล๊อกผม อาจจะโหลดช้า หรือ download ไม่สำเร็จ แต่วันนี้ ผมได้แก้ไขให้แล้วครับ รับลอง download ได้ ชั๋ว ไม่ต้องยุ้งยาก กับลิ้่ง download นี้เลยครับ"
ขนาดไพล์แค่ Nikon D60 (Thai).pdf, 2,577 KB อ่อลืมบอกไป..เป็นไพล์ .pdf นะครับ
dowload now
ขนาดไพล์แค่ Nikon D60 (Thai).pdf, 2,577 KB อ่อลืมบอกไป..เป็นไพล์ .pdf นะครับ
dowload now
ป้ายกำกับ:
คู่มือภาษาไทย Nikon D60,
downloadคู่มือภาษาไทย
งานแข่งรถที่บางแสน วันที่ 29-11-2009 d60 club เอารูปมาฝากครับ โดย almond D60 18-55 Kit
งานแข่งรถที่บางแสน 2009 ไปดูมาเลยนำภาพบรรยากาศงานมาฝากกับพี่น้องชาว d60 club อาจจะเป็นภาพเล็กๆน้อยที่มือใหม่อย่างผมถ่ายภาพความเร็วยังไม่เป็นครับ ....
ป้ายกำกับ:
งานแข่งรถที่บางแสน,
D60 18-55 Kit
เรามาดูเทคนิดการวัดแสงที่เรียกว่าถ่ายภาพให้ OVER/UNDER กันครับ
เทคนิดการถ่ายภาพให้ OVER/UNDER ครับ
การศึกษาเรื่องการวัดแสงและชดเชยแสงนั้นนอกจากทำให้เราถ่ายภาพได้สีและความสว่างที่สมจริงแล้ว ซึ่งนักถ่ายภาพควรฝึกฝนให้สำเร็จเป็นพื้นฐานในระดับก้าวหน้านั้น นักถ่ายภาพอาจจะต้องการได้ภาพที่ดูเข้มหรือสว่างกว่าจริงตามที่ต้องการก็ได้ ซึ่งการชดเชยแสงที่จะเป็นเครื่องมือชิ้นเดิมที่ช่วยให้เราได้ภาพตามที่ต้องการ เรียกว่าถ่ายภาพให้ OVER/UNDER....
ป้ายกำกับ:
เทคนิดการถ่ายภาพ
เทคนิคการวัดแสง nikon d60 ครับ
เทคนิคการวัดแสง
สำหรับระบบวัดแสงแบบเฉลี่ยเน้นกลางภาพมาให้อย่างเดียว กล้องบางรุ่นก็อาจจะมีระบบวัดแสงแบบเฉพาะจุดมาให้อย่างเดียว นักถ่ายภาพที่ไม่มีระบบวัดแสงอื่นๆ เป็นทางเลือกควรจะศึกษาและทำความเข้าใจในเทคนิคและวิธีการใช้ระบบวัดแสงระบบเดียวที่มีอยู่นั้นให้ชำนาญมากที่สุด
และสามารถใช้ในการวัดแสงกับการถ่ายภาพทุกๆ รูปแบบได้อย่างพอเหมาะพอดี หรือตรงกับความต้องการ ระบบวัดแสงแต่ละแบบจะมีเทคนิคในการประยุกต์ดัดแปลงการใช้ให้สามารถถ่ายภาพได้ในทุกๆ รูปแบบได้เสมอ...
สำหรับระบบวัดแสงแบบเฉลี่ยเน้นกลางภาพมาให้อย่างเดียว กล้องบางรุ่นก็อาจจะมีระบบวัดแสงแบบเฉพาะจุดมาให้อย่างเดียว นักถ่ายภาพที่ไม่มีระบบวัดแสงอื่นๆ เป็นทางเลือกควรจะศึกษาและทำความเข้าใจในเทคนิคและวิธีการใช้ระบบวัดแสงระบบเดียวที่มีอยู่นั้นให้ชำนาญมากที่สุด
และสามารถใช้ในการวัดแสงกับการถ่ายภาพทุกๆ รูปแบบได้อย่างพอเหมาะพอดี หรือตรงกับความต้องการ ระบบวัดแสงแต่ละแบบจะมีเทคนิคในการประยุกต์ดัดแปลงการใช้ให้สามารถถ่ายภาพได้ในทุกๆ รูปแบบได้เสมอ...
ป้ายกำกับ:
เทคนิคการถ่ายภาพ
เรามารู้ค่าความไวแสง ISO Nikon d60 หรือ ค่า ISO ในกล้อง DSLR กันเถอะครับ
เรามารู้ค่าความไวแสง หรือ ค่า ISO ในกล้อง DSLR กันเถอะครับ
หลายๆคนที่มีกล้องถ่ายรูปมักจะเคยได้ยินคำว่า ISO กันอยู่บ่อยๆบางท่านอาจจะยังไม่รู้ถึงความหมายและประโยชน์ที่แท้จริงของมันวันนี้เราก็เลยมาพูดถึงเรื่องของคำว่า ISO
ISO ถ้าแปลให้เป็นไทยก็จะหมายถึง ค่าความไวแสง ที่ใช้ในการถ่ายภาพโดยเท่าที่เราคุ้นเคยก็จะมีค่าตั้งแต่ 50 ไปจนถึง 20,000-30,000 ในกล้องที่มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เลยทีเดียว....
ป้ายกำกับ:
ISO Nikon d60
มาแล้ว ทริปเด็จๆ เทคนิดการบันทึกภาพนะครับ ISO Nikon d60
มาแล้ว ทริปเด็จๆ เทคนิดการบันทึกภาพนะครับ
ไวท์บาลานซ์
เมื่อคุณเจอสิ่งที่ต้องการจะถ่าย จัดองค์ประกอบ และโฟกัสเรียบร้อยแล้ว ให้ปรับค่าไวท์บาลานซ์ตามสภาพอากาศในขณะนั้น
ค่าไวท์บาลานซ์ที่ไม่ถูกต้องไม่เพียงจะสร้างความสับสนให้กับภาพในจอ LCD เท่านั้น แต่มันยังส่งผลต่อค่า Histogram ของค่าการเปิดรับแสงอีกด้วยหากคุณอยากจะรู้ว่ามันเป็นอย่างไร ลองเปิดภาพ RAW ในโปรแกรม Photoshop Element แล้วลองปรับค่าไวท์บาลานซ์ จากนั้นลองดูว่า Histogram เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
ค่า ISO
ตามกฏพื้นฐานนั้น ให้คุณใช้ค่าที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อให้ได้ภาพที่มีคุณภาพสูงที่สุด เวลาที่คุณเพิ่ม ISO ก็เหมือนกับคุณเพิ่มปริมาณ Noise ในภาพด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณวัดแสงออกมาอันเดอร์และจำเป็นต้องดึงความสว่างของภาพคืนมาในโปรแกรม แม้แต่การทำงานของกล้อง Nikon D3 ที่ค่า ISO สูงๆ นั้นดีอย่างไม่น่าเชื่อแต่เราก็ควรที่จะใช้ค่า ISO ที่ 100-400 เท่านั้นในกล้อง DSLR ทั่วๆไป
โหมดถ่ายภาพ
อะไรคือสิง่ที่สำคัญที่สุดในภาพ? ถ้าเป็นระยะชัดลึกก็ให้เลือกไปที่ AV Mode แล้วเลือกรูรับแสงแคบๆ ( ค่า f สูงๆ) แต่ถ้าหากต้องการระยะชัดตื้นก็ให้เลือก รูรับแสงกว้างๆ ( ค่า f ต่ำๆ ) แต่ถ้าเป็นการหยุดแอ็คชั่นหรือการทำให้ภาพเบลอเป็นสิ่งสำคัญที่สุดก็เลือกเป็นโหมด Tv (ในกล้อง Canon) หรือ S (ในกล้อง Nikon)
ค่าการเปิดรับแสง
และสุดท้าย เลือกรูปแบบการวัดแสงที่เหมาะกับตัวแบบและสภาพแสง และใช้การปรับชดเชยแสงเพื่อรักษาไฮไลต์และชาโดว์เอาไว้ เช็คให้แน่ใจว่าคุณได้ปรับค่าต่างๆ คืนค่าเดิมหลังจากที่คุณได้ถ่ายภาพนั้นไปแล้ว
ลองเอาใช้กันดูนะครับ...อิอิ
ไวท์บาลานซ์
เมื่อคุณเจอสิ่งที่ต้องการจะถ่าย จัดองค์ประกอบ และโฟกัสเรียบร้อยแล้ว ให้ปรับค่าไวท์บาลานซ์ตามสภาพอากาศในขณะนั้น
ค่าไวท์บาลานซ์ที่ไม่ถูกต้องไม่เพียงจะสร้างความสับสนให้กับภาพในจอ LCD เท่านั้น แต่มันยังส่งผลต่อค่า Histogram ของค่าการเปิดรับแสงอีกด้วยหากคุณอยากจะรู้ว่ามันเป็นอย่างไร ลองเปิดภาพ RAW ในโปรแกรม Photoshop Element แล้วลองปรับค่าไวท์บาลานซ์ จากนั้นลองดูว่า Histogram เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
ค่า ISO
ตามกฏพื้นฐานนั้น ให้คุณใช้ค่าที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อให้ได้ภาพที่มีคุณภาพสูงที่สุด เวลาที่คุณเพิ่ม ISO ก็เหมือนกับคุณเพิ่มปริมาณ Noise ในภาพด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณวัดแสงออกมาอันเดอร์และจำเป็นต้องดึงความสว่างของภาพคืนมาในโปรแกรม แม้แต่การทำงานของกล้อง Nikon D3 ที่ค่า ISO สูงๆ นั้นดีอย่างไม่น่าเชื่อแต่เราก็ควรที่จะใช้ค่า ISO ที่ 100-400 เท่านั้นในกล้อง DSLR ทั่วๆไป
โหมดถ่ายภาพ
อะไรคือสิง่ที่สำคัญที่สุดในภาพ? ถ้าเป็นระยะชัดลึกก็ให้เลือกไปที่ AV Mode แล้วเลือกรูรับแสงแคบๆ ( ค่า f สูงๆ) แต่ถ้าหากต้องการระยะชัดตื้นก็ให้เลือก รูรับแสงกว้างๆ ( ค่า f ต่ำๆ ) แต่ถ้าเป็นการหยุดแอ็คชั่นหรือการทำให้ภาพเบลอเป็นสิ่งสำคัญที่สุดก็เลือกเป็นโหมด Tv (ในกล้อง Canon) หรือ S (ในกล้อง Nikon)
ค่าการเปิดรับแสง
และสุดท้าย เลือกรูปแบบการวัดแสงที่เหมาะกับตัวแบบและสภาพแสง และใช้การปรับชดเชยแสงเพื่อรักษาไฮไลต์และชาโดว์เอาไว้ เช็คให้แน่ใจว่าคุณได้ปรับค่าต่างๆ คืนค่าเดิมหลังจากที่คุณได้ถ่ายภาพนั้นไปแล้ว
ลองเอาใช้กันดูนะครับ...อิอิ
ป้ายกำกับ:
เทคนิดการบันทึกภาพ,
ISO Nikon d60
เรามาเข้าใจระบบวัดแสง (Light Metering) กันเถอะครับ
เรามาเข้าใจระบบวัดแสง (Light Metering) กันเถอะครับ
เรียนรู้วิธีที่กล้องของคุณมองโทนภาพจะช่วยให้คุณได้ค่าการเปิดรับแสงที่คุณต้องการระบบวัดแสงในกล้อง DSLR นั้นมีอยู่สามรูปแบบหลักด้วยกัน ซึ่งได้แก่ เฉลี่ยทั้งภาพเฉลี่ยหนักกลาง (เหมือนกล้องฟิล์มแมนนวลสมัยก่อน) และเฉพาะจุดหรือเฉพาะส่วนซึ่งจะให้ความแม่นยำสูงที่สุดแต่ก็ยอมรับเถอะ ว่าพวกเราทั้งหลายต่างนิยมใช้ระบบวัดแสงแบบเฉลี่ยทั้งภาพซึ่งในสถาณการณ์ส่วนใหญ่แล้วมันก็มักจะให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องแต่คุณก็จำเป็นต้องระวังสภาพแสงบางรูปแบบที่มัหจะทำให้ผลลัพธ์ผิดเพี้ยนไป และเรียนรู้วิธีแก้ไขให้มันถูกต้อง และเพื่อความแน่ใจว่าคุณจะไม่พลาดจังหวะสำคัญไปคุณก็จะต้องเรียนรู้ทิศทางการหมุนวงแหวนเพื่อนควบคุมเอฟเฟคท์ที่คุณต้องการโดยต้องไม่ละสายตาจากช่องมองภาพ ตัวอย่างเช่น หากคุณถ่ายภาพแอคชั่น และคุณต้องการเปลี่ยนค่ากล้องอย่างรวดเร็ว เพื่อนเปลี่ยนจากการหยุดความเคลื่อนไหวไปเป็นความเบลอที่สร้างสรรค์ ด้วยเหตุนี้คุณจึงจำเป็นที่จะต้องทราบว่าทิศทางใดที่จะทำให้คุณได้รูรับแสง ที่เล็กลงและความไวชัตเตอร์ที่ช้าลง ซึ่งก็เป็นเช่นเดยีวกันกับการชดเชยค่า การเปิดรับแสง ทิศทางใดที่จะลดค่าการเปิดรับแสงและทิศทางใดที่จะทำให้เพิ่มขึ้น
ระบบวัดแสงเฉลี่ยหนักกลาง (Centre-weighted-metering) มักจะให้ผลลัพธ์ที่ดีในการถ่ายภาพบุคคล เนื่องจากมันจะให้ความสำคัญบริเวณกลางภาพซึ่งก็มักจะเป็นตำแหน่งของตัวแบบ ผลลัพธ์ที่ได้มักจะคาดเดาได้มากกว่าระบบวัดแสงเฉลี่ยทั้งภาพ เพราะระบบวัดแสงแบบนี้ ไม่ได้ใช้ อัลลอริทึ่มที่ซับซ้อนเหมือนกับระบบวัดแสงเฉลี่ยนั่นเอง
ระบบวัดแสงเฉพาะจุด (Spot-metering) เป็นคู่ที่เหมาะกับโหมดแมนนวลแต่โหมดกึ่งแมนนวลก็มักจะเป็นอีกวิธีหนึ่งในวิธีการหาค่าการเปิดรับแสงที่ดีเช่นกัน ด้วยการผสานการใช้งานโหมดปรับตั้งรูรับแสงเอง (หรือปรับความเร็วชัตเตอร์เอง) กับระบบวัดแสงแบบเฉพาะจุดหรือเฉพาะส่วน พร้อมกับปุ่มล็อคค่าการเปิดรับแสงบนกล้องคุณ เพียงเท่านี้คุณก็สามารถทำงานได้เหมือนกับที่คุณใช้โหมดแมนนวลเช่นกันเพียงแค่เล็งกล้องไปยังพื่นที่โทนสีเทากลางอย่างเช่น ทางเท้า หรือสนามหญ้าที่อยู่ภายใต้ สภาพแสงเดียวกับตัวแบบ จากนั้นก็กดปุ่มล็อคค่าแสง แล้วจัดองค์ประกอบใหม่อีกครั้ง ภาพด้านล่างนี้จะแสงให้เห็นถึงสัญลักษณ์ของโหมดการวัดแสงประเภทต่างๆของกล้องCanon
ระบบวัดแสงเฉลี่ยทั้งภาพของกล้อง Nikon d60 นั้นจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างออกไปคือ 3D Matrix Metering
ภาพจากอินเตอร์เนตนะครับ
ป้ายกำกับ:
ระบบวัดแสง
เรามาดู ระบบวัดแสง การเปิดรับแสง Manual Program Aperture Priority
ระบบวัดแสง การเปิดรับแสง
มาดูภาพรวมที่ชัดเจนกับคู่มือแนะนำการใช้ดล้องฉบับรวบรัดกันดู...
ในบทนี้เราจะครอบคลุมการปรับค่ากล้องต่างๆ ที่มักสร้างความสับสนให้คุณบ่อยๆ ซึ่งก็คือการวัดแสงและค่าการเปิดรับแสง ทั้งสองอย่างนี้เป็นประเด็นที่มักถูกถามอยู่บ่อยๆ
เริ่มต้นด้วยโหมดที่เหมาะสม
ปรับตั้งรูรับแสงเอง (Aperture Priority) เป็นโหมดที่ใช้งานง่ายและสามารถใช้รับมือได้ทุกสถาณการณ์
เพราะสิ่งที่คุณต้ิองทำคือการเลือกรูรับแสงตามเอฟเฟคท์ที่คุณต้องการ
รู รับแสงแคบ (ค่า f สูงๆ) จะให้ระยะชัดลึกที่สูง ขณะที่รูรับแสงที่กว้า่ง (ค่า f ต่ำๆ) จะให้ระยะชัดลึกที่ตื้น และยังช่วยสร้างการแบ่งแยกตัวแบบออกจากฉากหลงได้อย่างชัดเจน โดยที่กล้องทำหน้าที่เปลี่ยนค่าความไวชัตเตอร์เพื่อให้ได้ค่าการเปิดรับแสง ที่พอดี แต่คุณยังต้องสังเกตค่าความไวชัตเตอร์ในขณะที่คุณเปลี่ยนรูรับแสงด้วย เพราะค่าความไวชัตเตอร์จะต้องมีความเร็วพอที่จะหยุดการเคลื่อนไหวของตัวแบบ (ถ้านั่นเป็นสิ่งที่คุณต้องการ) หรือเพื่อหยุดการสั่นไหวของกล้องได้
ปรับตั้งความเร็วชัตเตอร์เอง เลือกใช้โหมดนี้หากคุณต้องการควบคุมรูปแบบของการเคลื่อนไหวที่จะปรากฏในภาพถ่าย
ด้วย การปรับหมุนวงแหวนควบคุมที่กล้องของคุณ คุณก็จะสามารถเปลี่ยนจากค่าความไวชัตเตอร์สูงมาเป็นค่าการเปิดรับแสงที่ยาว นานได้ด้วยความรวดเร็ว ไม่ว่าคุณจะต้องการหยุดการเคลื่อนไหวของตัวแบบ หรือการสร้างสรรค์ความเบลอก็ได้ทั้งนั้น ดังนั้นโหมดนี้จึงเหมาะสำหรับการทดลองแพนกล้องถ่ายภาพตัวแบบและหาเอฟเฟคท์ ที่แตกต่างกัน หากคุณต้องการลดความเสี่ยงของความเบลอที่เกิดจากกล้องสั่น ให้คุณเปลี่ยนมาใช้โหมดนี้ และหมุนแป้นควบคุมให้ได้ค่าความไวชัตเตอร์ที่เท่ากับช่วงทางยาวโฟกัสของ เลนส์ (ดังนั้นให้ใช้ 1/100 วินาที สำหรับเลนส์ 100 มม.) หรืออาจจะเพิ่มค่าให้เป็นสองเท่า เพื่อความมั่นใจ
โปรแกรม โหมดค่าการเปิดรับแสงอัตโนมัติ (Program) เป็นอีกหนึ่งขั้นที่เหนือขึ้นมาจากโหมดเล็งแล้วถ่าย
กล้อง จะเป็นตัวปรับค่ารูรับแสงและค่าความไวชัตเตอร์โดยอัตโนมัติเพื่อหาค่าเปิด รับแสงที่ “ถูกต้อง” สำหรับตัวแบบและสภาพแสงที่มีคุณจะสามารถปรับเปลี่ยนค่ารวมของรูรับแสงและค่า ความไวชัตเตอร์ได้และยังสามารถปรับแก้ค่าอื่นๆ อย่างเช่นการชดเชยแสงได้ ช่างภาพจำนวนมากพบว่าโหมดนี้ให้ผลลัพธ์ที่ดีมาก ซึ่งนี่ก็เป็นเหตุผลว่าทำไมคุณจึงยังต้องพบโหมดนี้ในกล้องถ่ายภาพระดับมือ อาชีพ
แมนนวล ลองใช้โหมดแมนนวล (Manual) นี้ดูเพื่อค่าการเปิดรับแสงที่แม่นยำตามชื่อของมัน
ใน โหมดแมนนวลนี้คุณจะสามารถควบคุมการตัดสินใจทุกอย่างด้วยตัวของคุณเอง ทุกอย่างจะขึ้นอยู่กับว่าคุณจะเลือกใช้ค่าความไวแสง ค่าความไวชัตเตอร์ และรูรับแสงของเลนส์อย่างไรเพื่อให้ได้ค่าการเปิดรับแสงที่คณต้องการ เครื่องวัดแสงจะบอกให้คุณทราบว่าภาพของคุณนั้นจะโอเวอร์หรืออันเดอร์ แค่นั่นก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบระบบวัดแสงที่คุณใช้และความสว่างและมือของตัวแบบ ที่คุณกำลังเล็งกล้องเข้าไป
มาดูภาพรวมที่ชัดเจนกับคู่มือแนะนำการใช้ดล้องฉบับรวบรัดกันดู...
ในบทนี้เราจะครอบคลุมการปรับค่ากล้องต่างๆ ที่มักสร้างความสับสนให้คุณบ่อยๆ ซึ่งก็คือการวัดแสงและค่าการเปิดรับแสง ทั้งสองอย่างนี้เป็นประเด็นที่มักถูกถามอยู่บ่อยๆ
เริ่มต้นด้วยโหมดที่เหมาะสม
ปรับตั้งรูรับแสงเอง (Aperture Priority) เป็นโหมดที่ใช้งานง่ายและสามารถใช้รับมือได้ทุกสถาณการณ์
เพราะสิ่งที่คุณต้ิองทำคือการเลือกรูรับแสงตามเอฟเฟคท์ที่คุณต้องการ
รู รับแสงแคบ (ค่า f สูงๆ) จะให้ระยะชัดลึกที่สูง ขณะที่รูรับแสงที่กว้า่ง (ค่า f ต่ำๆ) จะให้ระยะชัดลึกที่ตื้น และยังช่วยสร้างการแบ่งแยกตัวแบบออกจากฉากหลงได้อย่างชัดเจน โดยที่กล้องทำหน้าที่เปลี่ยนค่าความไวชัตเตอร์เพื่อให้ได้ค่าการเปิดรับแสง ที่พอดี แต่คุณยังต้องสังเกตค่าความไวชัตเตอร์ในขณะที่คุณเปลี่ยนรูรับแสงด้วย เพราะค่าความไวชัตเตอร์จะต้องมีความเร็วพอที่จะหยุดการเคลื่อนไหวของตัวแบบ (ถ้านั่นเป็นสิ่งที่คุณต้องการ) หรือเพื่อหยุดการสั่นไหวของกล้องได้
ปรับตั้งความเร็วชัตเตอร์เอง เลือกใช้โหมดนี้หากคุณต้องการควบคุมรูปแบบของการเคลื่อนไหวที่จะปรากฏในภาพถ่าย
ด้วย การปรับหมุนวงแหวนควบคุมที่กล้องของคุณ คุณก็จะสามารถเปลี่ยนจากค่าความไวชัตเตอร์สูงมาเป็นค่าการเปิดรับแสงที่ยาว นานได้ด้วยความรวดเร็ว ไม่ว่าคุณจะต้องการหยุดการเคลื่อนไหวของตัวแบบ หรือการสร้างสรรค์ความเบลอก็ได้ทั้งนั้น ดังนั้นโหมดนี้จึงเหมาะสำหรับการทดลองแพนกล้องถ่ายภาพตัวแบบและหาเอฟเฟคท์ ที่แตกต่างกัน หากคุณต้องการลดความเสี่ยงของความเบลอที่เกิดจากกล้องสั่น ให้คุณเปลี่ยนมาใช้โหมดนี้ และหมุนแป้นควบคุมให้ได้ค่าความไวชัตเตอร์ที่เท่ากับช่วงทางยาวโฟกัสของ เลนส์ (ดังนั้นให้ใช้ 1/100 วินาที สำหรับเลนส์ 100 มม.) หรืออาจจะเพิ่มค่าให้เป็นสองเท่า เพื่อความมั่นใจ
โปรแกรม โหมดค่าการเปิดรับแสงอัตโนมัติ (Program) เป็นอีกหนึ่งขั้นที่เหนือขึ้นมาจากโหมดเล็งแล้วถ่าย
กล้อง จะเป็นตัวปรับค่ารูรับแสงและค่าความไวชัตเตอร์โดยอัตโนมัติเพื่อหาค่าเปิด รับแสงที่ “ถูกต้อง” สำหรับตัวแบบและสภาพแสงที่มีคุณจะสามารถปรับเปลี่ยนค่ารวมของรูรับแสงและค่า ความไวชัตเตอร์ได้และยังสามารถปรับแก้ค่าอื่นๆ อย่างเช่นการชดเชยแสงได้ ช่างภาพจำนวนมากพบว่าโหมดนี้ให้ผลลัพธ์ที่ดีมาก ซึ่งนี่ก็เป็นเหตุผลว่าทำไมคุณจึงยังต้องพบโหมดนี้ในกล้องถ่ายภาพระดับมือ อาชีพ
แมนนวล ลองใช้โหมดแมนนวล (Manual) นี้ดูเพื่อค่าการเปิดรับแสงที่แม่นยำตามชื่อของมัน
ใน โหมดแมนนวลนี้คุณจะสามารถควบคุมการตัดสินใจทุกอย่างด้วยตัวของคุณเอง ทุกอย่างจะขึ้นอยู่กับว่าคุณจะเลือกใช้ค่าความไวแสง ค่าความไวชัตเตอร์ และรูรับแสงของเลนส์อย่างไรเพื่อให้ได้ค่าการเปิดรับแสงที่คณต้องการ เครื่องวัดแสงจะบอกให้คุณทราบว่าภาพของคุณนั้นจะโอเวอร์หรืออันเดอร์ แค่นั่นก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบระบบวัดแสงที่คุณใช้และความสว่างและมือของตัวแบบ ที่คุณกำลังเล็งกล้องเข้าไป
ภาพจากอินเตอร์เนตนะครับ
ป้ายกำกับ:
การเปิดรับแสง,
ระบบวัดแสง
การถ่ายด้วยโหมด RAW เพื่อคุณภาพที่ดีที่สุด
การถ่ายด้วยโหมด RAW เพื่อคุณภาพที่ดีที่สุด
ถ่ายด้วยโหมด RAW เพื่อคุณภาพที่ดีที่สุด และเพิ่มความเป็นไปได้ในการปรับแก้ไวท์บาลานซ์ และค่าการเปิดรับแสงทีหลัง แต่ก็ต้องจำเป็นที่จะต้องใช้โปรแกรมพิเศษ เข้ามาช่วย อาทิเช่น Capture NX , DDP, Camara Raw
ซื้อเลนซ์ 50 มม. เลนส์มาตรฐาน 50 มม. ถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ด้วยรูรับแสงที่กว้างแต่ราคาประหยัด เลนส์ประเภทนี้จะช่วยให้คุณหัดวิธีการจัดองค์ประกอบภาพ ด้วยเท้าของคุณเอง
ใกล้ยิ่งขึ้น ใช้ท่อต่อเลนส์ (extension tube) เพื่อลดระยะโฟกัสของเลนส์ให้น้อยลง
เปลี่ยนตำแหน่งแฟลช สายพ่วงแฟลชจะช่วยเปิดโอกาศในการได้ภาพของคุณ แต่ราคาของมันก็แพงเอาการ
ลงทุนซื้อกริป การจับถือกล้องอย่างถนัดขึ้น จะช่วยเร่งเร้าให้เราถ่ายภาพแนวตั้งมากขึ้น
ป้ายกำกับ:
การถ่ายด้วยโหมด RAW
เทคนิคการเลือกซื้ิอเลนส์สำหรับมือใหม่ครับ
เทคนิคการเลือกซื้ิอเลนส์สำหรับมือใหม่ครับ
ครับ สำหรับผู้ที่กำลังมองหาเลนส์ตัวที่สองต่อจาก เลนส์คิท ที่ติดมากับกล้องนั้นควรจะได้อ่านบทความบทนี้กันก่อนครับเพราะเลนส์นั้นก็มีราคาค่อนข้างแพง ยิ่งเป็นเลนส์เกรดสูงๆ ก็มีราคาหลักหมื่น จนถึงหลายหมื่นกันเลยทีเดียว
สำหรับผมนั้นเริ่มต้นถ่ายภาพด้วยเลนส์ คิทที่ติดมากับกล้อง 40D นั้นคือเลนส์ 18-55 IS USM ซึ่งก็ถือว่าในช่วงแรกๆ นั้นมันช่วยให้เราเข้าใจศัพท์ใหม่ๆ เช่น รูรับแสง (A) , ทางยาวโฟกัส (Focal Lense) และ ค่าอื่นๆ อีกมากมาย
พอเริ่มใช้ง่ายไปซักพักผมก็เริ่มรู้สึกว่าเลนส์ที่ติดกับกล้องมานั้นมันเริ่มตอบสนองความต้องการไม่ได้แล้ว ก็เลยซื้อเลนส์ลูกสาวดีกว่า แล้วหลายคนคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า "หน้าชัดหลังเบลอ" กันมาบ้างแล้วใช่มั้ยครับ ส่วนใหญ่ว่าเวลาถ่ายภาพแนว Portrait ก็มักจะถ่ายแบบนี้มาแล้วทั้งนั้น
สำหรับเลนส์ที่ตอบโจทย์ในข้อนี้ได้ก็มีอยู่หลายตัว อาทิ เ่ช่น 50mm f1.4 , 50mm f1.8, 85mm f1.8, 70-200mm f4 และ 70-200mm f 2.8
ตัวแปลที่จะทำให้ภาพออกมาเป็นหน้าชัดหลังเบลอนั้น มีอยู่ดังนี้
ซึ่งเลนส์แต่ละตัวนันราคาแต่ต่างกันครับ ตั้งแต่ 3,000- 80,000 บาทกันเลยทีเดียว สำหรับมือใหม่ แบบผมก็น่าจะลองที่ 50mm f1.8 กันไปก่อน เพราะ มีราคาย่ิองเบา...เฮย..ย้อมเยาว์ หรือถ้ามีเงินหนาก็ เล่น 70-200mm f2.8 ไปเลยครับ แต่ท่านอาจจะต้องเมื่อยแขนไม่ใ่ช่น้อย เพราะตัวเลนส์นั้นมีน้ำหนักค่อนข้างมาก
สิ่งที่ต้องควรระวังในการใช้การเลนส์ 50mm f1.8 ก็คืออย่าเข้าไปถ่ายในระยะประชิดให้มากครับ เพราะมันจะบวมนะครับ
ยังไงก็ลอง คิดให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจ.......สอยเลนใหม่นะครับ..ช่วงนี้เศรษฐกิจแย่...เฮ้อ
ครับ สำหรับผู้ที่กำลังมองหาเลนส์ตัวที่สองต่อจาก เลนส์คิท ที่ติดมากับกล้องนั้นควรจะได้อ่านบทความบทนี้กันก่อนครับเพราะเลนส์นั้นก็มีราคาค่อนข้างแพง ยิ่งเป็นเลนส์เกรดสูงๆ ก็มีราคาหลักหมื่น จนถึงหลายหมื่นกันเลยทีเดียว
สำหรับผมนั้นเริ่มต้นถ่ายภาพด้วยเลนส์ คิทที่ติดมากับกล้อง 40D นั้นคือเลนส์ 18-55 IS USM ซึ่งก็ถือว่าในช่วงแรกๆ นั้นมันช่วยให้เราเข้าใจศัพท์ใหม่ๆ เช่น รูรับแสง (A) , ทางยาวโฟกัส (Focal Lense) และ ค่าอื่นๆ อีกมากมาย
พอเริ่มใช้ง่ายไปซักพักผมก็เริ่มรู้สึกว่าเลนส์ที่ติดกับกล้องมานั้นมันเริ่มตอบสนองความต้องการไม่ได้แล้ว ก็เลยซื้อเลนส์ลูกสาวดีกว่า แล้วหลายคนคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า "หน้าชัดหลังเบลอ" กันมาบ้างแล้วใช่มั้ยครับ ส่วนใหญ่ว่าเวลาถ่ายภาพแนว Portrait ก็มักจะถ่ายแบบนี้มาแล้วทั้งนั้น
สำหรับเลนส์ที่ตอบโจทย์ในข้อนี้ได้ก็มีอยู่หลายตัว อาทิ เ่ช่น 50mm f1.4 , 50mm f1.8, 85mm f1.8, 70-200mm f4 และ 70-200mm f 2.8
ตัวแปลที่จะทำให้ภาพออกมาเป็นหน้าชัดหลังเบลอนั้น มีอยู่ดังนี้
- รูรับแสง ยิ่งกว้างยิ่งดี (F ค่าเลขต่ำๆ เช่น f1.2)
- ระยะห่างของตัวแบบและเลนส์
- ทางยาวโฟกัส (ช่วงเลนส์ เช่น 200mm )
ซึ่งเลนส์แต่ละตัวนันราคาแต่ต่างกันครับ ตั้งแต่ 3,000- 80,000 บาทกันเลยทีเดียว สำหรับมือใหม่ แบบผมก็น่าจะลองที่ 50mm f1.8 กันไปก่อน เพราะ มีราคาย่ิองเบา...เฮย..ย้อมเยาว์ หรือถ้ามีเงินหนาก็ เล่น 70-200mm f2.8 ไปเลยครับ แต่ท่านอาจจะต้องเมื่อยแขนไม่ใ่ช่น้อย เพราะตัวเลนส์นั้นมีน้ำหนักค่อนข้างมาก
สิ่งที่ต้องควรระวังในการใช้การเลนส์ 50mm f1.8 ก็คืออย่าเข้าไปถ่ายในระยะประชิดให้มากครับ เพราะมันจะบวมนะครับ
ยังไงก็ลอง คิดให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจ.......สอยเลนใหม่นะครับ..ช่วงนี้เศรษฐกิจแย่...เฮ้อ
ป้ายกำกับ:
เทคนิคการเลือกซื้ิอเลนส์
เรามาดูสเปก LENS 15-36mm กันนะครับ
เรามาดูสเปก LENS 15-36mm กันนะครับ
ครับ เลนส์ซูมมุมกว้างจาก Nikon สำหรับกล้อง DSLR นะครับ ใช้เซ็นเซอร์ฟอร์แมต DX มีทางยาวโฟกัสเท่ากับ 15-36 มม. เมื่อเทียบกับกล้อง 35 มม. โครงสร้างใช้เลนส์ 14 ชิ้น ใน 9 กลุ่ม โดยมีชิ้นเลนส์ แอสเฟอริคัล 3 ชิ้นและชิ้นเลนส์ ED 2 ชิ้นในโครงสร้างเพื่อลดความคลาดเคลื่อนต่างๆ และให้ภาพที่มีความคมชัดและคอนทราสสูง ระบบโฟกัส ใช้มอเตอร์แบบ Silent Wave ช่วยให้การโฟกัสภาพรวดเร็วและเงียบและในขณะโฟกัสจะไม่มีการยืดเข้าออกของกระบอกเลนส์ ระยะโฟกัสใกล้สุดของเลนส์คือ 0.24 เมตร ฟิตเตอร์ที่ใช้ร่วมกับเลนส์ขนาด 77 มม. น้ำหนัก 460 กรัม
ครับ เลนส์ซูมมุมกว้างจาก Nikon สำหรับกล้อง DSLR นะครับ ใช้เซ็นเซอร์ฟอร์แมต DX มีทางยาวโฟกัสเท่ากับ 15-36 มม. เมื่อเทียบกับกล้อง 35 มม. โครงสร้างใช้เลนส์ 14 ชิ้น ใน 9 กลุ่ม โดยมีชิ้นเลนส์ แอสเฟอริคัล 3 ชิ้นและชิ้นเลนส์ ED 2 ชิ้นในโครงสร้างเพื่อลดความคลาดเคลื่อนต่างๆ และให้ภาพที่มีความคมชัดและคอนทราสสูง ระบบโฟกัส ใช้มอเตอร์แบบ Silent Wave ช่วยให้การโฟกัสภาพรวดเร็วและเงียบและในขณะโฟกัสจะไม่มีการยืดเข้าออกของกระบอกเลนส์ ระยะโฟกัสใกล้สุดของเลนส์คือ 0.24 เมตร ฟิตเตอร์ที่ใช้ร่วมกับเลนส์ขนาด 77 มม. น้ำหนัก 460 กรัม
ป้ายกำกับ:
LENS 15-36m
ในบทความนี้เราจะมาเจาะเบื้องลึก-Nikon-D60 กันนะครับ
ในบทความนี้เราจะมาเจาะเบื้องลึก-Nikon-D60 กันนะครับ
ความเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มจุดเด่น ทำให้ Nikon-D60 เป็นตัวที่ต้องพูดถึงกันคือ AIRFLOW Control และแบบสั่นเซ็นเซอร์ เป็นรุ่นแรกของค่าย Nikon เลยก็ว่าครับ ที่เริ่มขึ้นมีระบบแบบนี้ จุดขายของระบบ AIRFLOW Control และแบบสั่นเซ็นเซอร์ คือการกำจัดฝุ่น แบบใหม่ด้วยการใช้ลมไล่ฝุ่น (AIRFLOW SENSOR) ที่เซ็นเซอร์รับภาพผ่านช่องลมส่วนล่าง ของกระจกสะท้อนภาพ โดยระบบ AIRFLOW Control ทำการดักจับฝุ่นในห้องกระจกสะท้อนภาพ ทั้งหมดทุกครั้งที่ถ่ายภาพทำให้ทั้งกระจกสะท้อนภาพจอรับภาพและเซ็นเซอร์ปราศจากฝุ่นโดยระบบนี้จะดักฝุ่นเก็บไว้ไม่ให้กลับมากระจายอีกครับ
ตัวกล้องยังมีระบบสั่นเพื่อกำจัดฝุ่นออกจากผิวหน้าของเซ็นเซอร์รับภาพ ด้วยครับ โดยระบบนี้สามารถสั่งให้ทำงานเมื่อเปิด-ปิดเครื่อง และสามารถสั่งไม่ใช้งานก็ได้ครับ หรือจะสั่งให้ทำงานด้วยตนเองทันทีก็ได้เช่นกันครับ
ระบบการทำงานของ Nikon-D60 เซ็นเซอร์ และ fileformat สำหรับ CCD จะใช้เซ็นเซอร์ขนาด DX format หรือ APS-C มุมรับภาพเป็น 1.5x เมื่อเปรียบเทียบกับเลนส์กล้องฟิล์ม 135 นะครับ ในส่วนของความละเอียดรวม 10.75 ล้านพิกเซลด้วยกันครับ โดยมี EFFECTIVE PIXELS ที่ 10.2 ล้าน ซึ่งจะให้ไฟล์ภาพใหญ่สุดที่ 3872×2592 พิกเซล ในอัตราส่วนภาพ 3:2 ซึ่งจะมีโหมดประมวลผลภาพ Nikon EXPEED
สำหรับไฟล์ยอดนิยม ไฟล์ฟอร์แมทมีให้เลือกใช้ทั้งแบบ NEF(RAW) 12 bit และมี Jpeg ให้เลือกถึง 3 ระดับครับ ในส่วนของค่าความไวแสงของเซ็นเซอร์เริ่มต้นที่ ISO 100 ไปถึง 1600 เลยครับที่สามารถเลือกได้ ในส่วน Hi จะเทียบเท่ากับ ISO 3200 ครับ
สำหรับระบบใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาจากตัวเก่าๆของฟังก์ชั่น ACTIVE D-LIGHTING ระบบนี้จะเปิดรับแสงที่เหมาะสมโดยภาพจะมีรายละเอียดที่ครบถ้วนกว่าทั้งใน ส่วน สว่าง และส่วนเงา ซึ่งจะเหมาะอย่างยิ่งกับการถ่ายภาพที่มีค่าแสงในแต่ละส่วนแตกต่างกันมาก สรุปคือถ้าใช้โหมดนี้เวลาถ่ายภาพ อาทิเช่น ภาพย้อนแสง ก็ก็จะคำนวณและวัดค่าของแสงให้พอดีและได้ภาพที่ดีลงตัวเลยครับ ดังนั้นถ้าต้องการถ่ายภาพในแนว LOW KEY ก็สามารถสั่งปิดระบบนี้ได้ครับ
ในส่วนของโหมดถ่ายภาพไม่ต้องพูดถึงเลย กล้องตัวนี้มีระบบถ่ายภาพที่ครบถ้วนครับ ตั้งแต่โหมดคอมแพคไปกระทั้งกล้องระดับมืออาชีพเลยทีเดียว อิ..ๆ อาทิเช่นโหมด Auto,P,A,S,M ซึ่งสามารถเลือกใช้ได้ดังใจเลยครับ และยังมีโหมด Scn หรือ Sceen ให้เลือกถึง 7 โหมดเลยทีเดียวนะครับ จะถ่ายภาพบุคคล ทิวทัศน์ กลางคืน ก็สะดวกสบายเลยครับ
จุดอีกจุดหนึ่งที่พูดได้เลยว่าออกแบบมาให้มีความต่างจากกล้องรุ่นอื่นเลยครับ นั้นก็คือการแต่งภาพครับ Nikon-D60 พัฒนาในเรื่องระบบโดยใส่ระบบ RETOUCH MENU ระบบ นี้จะช่วยในการรีทัชภาพครับ สามารถตกแต่งภาพได้โดยไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์เพิ่มความสะดวกในการตกแต่งภาพ มากยิ่งขึ้นครับ โดยมีออปชั่นให้เลือกมากพอสมควร ตั้งแต่ Quick Retouch (ปรับแก้ไข Contract และ Saturation โดยให้กล้องปรับแต่งให้), D-Lighting, Red-Eyecorrection,(ลบจุดแดงในดวงตา) Trim (ตัดส่วน), Monochrome (มี 3สี คือ ขาว–ดำ,ซีเปีย,สีฟ้า) Filter Effect เช่น Cross Screen Filter ที่สามารถเลือกประเภทของแฉก กำหนดมุมของเฉก และกำหนดความยาวประกายเฉกได้
สำหรับวันนี้ก็ได้ทราบถึงฟังก์ชั่นใหม่ๆ ลึกๆ ของ Nikon-D60 เพิ่มขึ้นแล้วนะครับ ทาง D60 Club จะหาข้อมูลดีดี...มาฝากกันอีกนะคร๊าบ .....
ขอบคุณสำหรับผู้ที่ติดตาม
ป้ายกำกับ:
AIRFLOW Control,
fileformat,
Nikon D60
เรามาดูสเปก AF-S NIKKOR 70-200mm f/2.8G ED VR II กันครับ
เรามาดูสเปก AF-S NIKKOR 70-200mm f/2.8G ED VR II กันครับ
ราคา ยังไม่บอก
ข้อมูลอื่นๆ เลนส์ซูมเทเลระดับมืออาชีพพร้อม Nano Crystal Coat
+ Vibration Reduction (VR) ระบบลดการสั่นไหว VRII สามารถใช้ความไวชัตเตอร์ได้ต่ำกว่าปกติมากถึง 4 สต๊อป
+ ชุดเลนส์ได้รับการออกแบบใหม่ทั้งหมดประกอบด้วยชิ้นเลนส์พิเศษ ED มากถึง 7 ชิ้น
+ Nano Crystal Coat โค้ทชิ้นเลนส์ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง ลดการเกิดแสงแฟลร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
+ ชุดมอเตอร์ขับเคลื่อนโฟกัส Silent Wave Motor (SWM) โฟกัสได้เงียบ รวดเร็ว และแม่นยํา
+ สวิทซ์เลือกปรับโหมดโฟกัสได้ 3 แบบ ได้แก่ M, M/A, A/M
+ ไดอะแฟรมปรับขนาดรูรับแสงจํานวน 9 ใบแบบขอบกลม ให้ฉากหลังเบลอได้อย่างเป็นธรรมชาติ
+ โฟกัสระยะใกล้สุด 1.4 เมตรตลอดทุกช่วงซูม
+ โครงสร้างกระบอกเลนส์ผลิตด้วยวัสดุคุณภาพสูง
คุณสมบัติจําเพาะ
+ ช่วงทางยาวโฟกัส 70-200 มม.
+ ขนาดรูรับแสงกว้างสุด f/2.8
+ ขนาดรูรับแสงแคบสุด f/22
+ โครงสร้างชิ้นเลนส์ 21 ชิ้นเลนส์ แบ่งเป็น 16 กลุ่ม (ประกอบด้วยชิ้นเลนส์ ED จํานวน 7 ชิ้น และ Nano Crystal)
+ องศารับภาพ 34 องศา20’ - 12องศา20’ (22องศา50’ - 8องศา สําหรับ Nikon DX Format)
+ ระยะโฟกัสใกล้สุด 1.4 ม. / 4.6 ฟุต
+ จํานวนไดอะแฟรม 9 ใบ (แบบกลม)
+ ขนาดฟิลเตอร์ 77 มม.
+ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง x ยาว ประมาณ 87 x 209 มม. / 3.4 x 8.2 นิ้ว (เฉพาะส่วนที่ยื่นจากเมาท์เลนส์)
+ น้ำหนัก ประมาณ 1,540 กรัม
+ อุปกรณ์มาตรฐาน ฝาปิดหน้าเลนส์ LC-77 ขนาด 77 มม., ฝาปิดท้ายเลนส์ LF-1, เลนส์ฮูด HB-48, กระเป๋าใส่เลนส์ CL-M4
+ Vibration Reduction (VR) ระบบลดการสั่นไหว VRII สามารถใช้ความไวชัตเตอร์ได้ต่ำกว่าปกติมากถึง 4 สต๊อป
+ ชุดเลนส์ได้รับการออกแบบใหม่ทั้งหมดประกอบด้วยชิ้นเลนส์พิเศษ ED มากถึง 7 ชิ้น
+ Nano Crystal Coat โค้ทชิ้นเลนส์ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง ลดการเกิดแสงแฟลร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
+ ชุดมอเตอร์ขับเคลื่อนโฟกัส Silent Wave Motor (SWM) โฟกัสได้เงียบ รวดเร็ว และแม่นยํา
+ สวิทซ์เลือกปรับโหมดโฟกัสได้ 3 แบบ ได้แก่ M, M/A, A/M
+ ไดอะแฟรมปรับขนาดรูรับแสงจํานวน 9 ใบแบบขอบกลม ให้ฉากหลังเบลอได้อย่างเป็นธรรมชาติ
+ โฟกัสระยะใกล้สุด 1.4 เมตรตลอดทุกช่วงซูม
+ โครงสร้างกระบอกเลนส์ผลิตด้วยวัสดุคุณภาพสูง
คุณสมบัติจําเพาะ
+ ช่วงทางยาวโฟกัส 70-200 มม.
+ ขนาดรูรับแสงกว้างสุด f/2.8
+ ขนาดรูรับแสงแคบสุด f/22
+ โครงสร้างชิ้นเลนส์ 21 ชิ้นเลนส์ แบ่งเป็น 16 กลุ่ม (ประกอบด้วยชิ้นเลนส์ ED จํานวน 7 ชิ้น และ Nano Crystal)
+ องศารับภาพ 34 องศา20’ - 12องศา20’ (22องศา50’ - 8องศา สําหรับ Nikon DX Format)
+ ระยะโฟกัสใกล้สุด 1.4 ม. / 4.6 ฟุต
+ จํานวนไดอะแฟรม 9 ใบ (แบบกลม)
+ ขนาดฟิลเตอร์ 77 มม.
+ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง x ยาว ประมาณ 87 x 209 มม. / 3.4 x 8.2 นิ้ว (เฉพาะส่วนที่ยื่นจากเมาท์เลนส์)
+ น้ำหนัก ประมาณ 1,540 กรัม
+ อุปกรณ์มาตรฐาน ฝาปิดหน้าเลนส์ LC-77 ขนาด 77 มม., ฝาปิดท้ายเลนส์ LF-1, เลนส์ฮูด HB-48, กระเป๋าใส่เลนส์ CL-M4
ป้ายกำกับ:
AF-S NIKKOR 70-200mm
D60 ไปไหนในท้องตลาด ในโบว์ชัวก็ไม่เห็นมี เห็นแต่ตัวนี้ D3000 มาสเปกใกล้เคียงกันครับ
D60 ไปไหนในท้องตลาด ในโบว์ชัวก็ไม่เห็นมี เห็นแต่ตัวนี้ D3000 มาสเปกใกล้เคียงกันครับ
ราคา 24,900 บาท
เซ็นเซอร์ | + กล้องดิจิตอลแบบสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว (DSLR) + เซ็นเซอร์รับภาพ 23.6x 15.8 มม. CCD sensor (จํานวนพิกเซลทั้งหมด 10.75 ล้านพิกเซล) + ระบบกําจัดฝุ่น ทําความสะอาดเซ็นเซอร์รับภาพ, ระบบหมุนเวียนอากาศ, ลบฝุ่นบนไฟล์ภาพ (ผ่านโปรแกรมเสริม Capture NX2) |
จำนวนพิกเซล | + 10.2 ล้านพิกเซล |
ขนาดไฟล์ภาพ | + ขนาดภาพ (พิกเซล) 3,872 x 2,592 [L], 2,896 x 1,944 [M], 1,936 x 1,296 [S] |
เลนส์ | + เมาท์ Nikon F (แบบขั้วสัมผัส AF) + องศารับภาพ (ระบบฟิล์ม 35 มม.) ประมาณ 1.5 x ทางยาวโฟกัสเลนส์ (Nikon DX Format) + เลนส์ที่รองรับ • AF-S และ AF-I NIKKOR : รองรับการทํางานทุกระบบ • Type G หรือ D AF NIKKOR ชนิดไม่มีมอเตอร์ออโต้โฟกัส : รองรบการทํางานทุกระบบ ยกเว้นระบบออโต้โฟกัส • AF NIKKOR อื่นๆ : รองรับการทํางานทุกระบบ ยกเว้นระบบวัดแสง 3D Color matrix II และ ระบบออโต้โฟกัส เลนส์สําหรับ F3AF ไม่สามารถใช้งานได้ • Type D PC NIKKOR : รองรับการทํางานทุกระบบ ยกเว้นโหมดบันทึกภาพบางโหมด • AI-P NIKKOR: รองรับการทํางานทุกระบบ ยกเว้นระบบวัดแสง 3D color matrix II • ไม่มี CPU: ไม่รองรับระบบออโต้โฟกัส ใช้งานได้ในโหมดบันทึกภาพ M แต่ระบบวัดแสงไม่ทํางาน • แสดงข้อมูลอิเล็คทรอนิคส์ในช่องมองภาพมื่อใช้เลนส์ที่มีขนาดรูรับแสงกว้างสุด f/5.6 หรือกว้างกว่า |
จอแสดงผล | + จอมอนิเตอร์ 3.0 นิ้ว ประมาณ 230,000 dot TFT LCD ปรับตั้งความสว่างได้ + ฟังก์ชั่นการแสดงภาพ ภาพเดียวเต็มหน้าจอ และThumbnail (ภาพเล็กคราวละ 4, 9 หรือ 72 ภาพ หรือ ปฏิทิน) และเลือกซูมขยายเฉพาะส่วน, ภาพเคลื่อนไหวแบบ stop-motion จากกล่อง D3000, สไลด์โชว์, แสดงกราฟฮิสโตแกรม, แสดงส่วนสว่างของภาพ, หมุนภาพแนวตั้งอัตโนมัติ, และข้อความ (ได้สูงสุด 36 ตัวอักษร) |
สือบันทึกข้อมูล | + SD Card และ SDHC |
โฟกัส | + ออโต้โฟกัส โมดูลออโต้โฟกัส Nikon Multi-CAM 1000 พร้อม TTL phase detection โฟกัส 11 จุด (เซ็นเซอร์ cross-type 1 จุด) และไฟเรืองแสงช่วยหาโฟกัส (ระยะการทํางานประมาณ 0.5-3 ม.) + ช่วงความสว่างสําหรับหาโฟกัส -1 ถึง +19EV (เทียบเท่า ISO 100, 20C/68F) + ระบบโฟกัส ออโต้โฟกัส : โฟกัสครั้งเดียว (AF-S) ; โฟกัสต่อเนื่อง (AF-C) ; เลือกโฟกัส AF-S หรือ AF-C อัตโนมัติ (AF-A) ; โฟกัส ติดตามวัตถุอัตโนมัต ; โฟกัสแมนนวล (M) : แสดงสถานะโฟกัสในช่องมองภาพ + จุดโฟกัส โฟกัส 11 จุด + โหมดหาพื้นที่โฟกัส โฟกัสทีละจุด, โฟกัสพื้นที่ไดนามิค, โฟกัสหาพื้นที่อัตโนมัติ, โฟกัสติดตามแบบ 3D-tracking (11 จุด) + ล็อคโฟกัส โดยกดปุ่มชัตเตอร์ลึกลงครึ่งหนึ่ง (โฟกัสครั้งเดียว) หรือโดยกดปุ่ม AE-L/AF-L |
ความเร็วชัตเตอร์ | + ชนิดชุดชัตเตอร์ Electronically-controlled vertical-travel focal-plane shutter + ความไวชัตเตอร์ ตั้งแต่ 1/4000 ถึง 30 วินาที ปรับขั้นได้ละเอียด 1/3, 1/2 และชัตเตอร์ Bulb(B), Time(T) ใช้รีโมทคอนโทรล ML-L3 , X-Sync = 1/200 วินาที |
ความไวแสง | + ISO 100 ถึง 1600 ปรับขึ้นได้ละเอียด 1 EV ปรับเพิ่มได้สูงสุดเทียบเท่า ISO 3200 และระบบปรับคาความไวแสงที่เหมาะสมอัตโนมัติ + Active D-Lighting เลือกเปิด-ปิดการทํางาน |
ชดเชยแสง | + การชดเชยแสง +/- 5EV ปรับขั้นได้ละเอียด 1/3 EV + ถ่ายภาพคร่อม 3 ภาพ ปรับขั้นได้ละเอียด 1/3 หรือ 1/2EV + ล็อคค่าแสงอัตโนมัติ Luminosity locked ที่ค่าวัดได้ โดยใช้ปุ่ม AE-L/AF-L + ช่วงการวัดแสง 1) EV 0 ถึง 20 (3D Color Matrix หรือ center-weighted metering) (เทียบเท่า ISO 100, f/1.4, 2) EV 2 ถึง 20 (spot metering) 20C/68F) |
สมดุลแสงสีขาว | + Auto, Incandescent, fluorescent (7 แบบ), direct sunlight, flash, cloudy, shade และแบบปรับตั้งด้วยตนเอง (preset) |
โหมดถ่ายภาพ | + ระบบบันทึกภาพ โหมดอัตโนมัติ (อัตโนมัติ, อัตโนมัตยกเลิกแฟลช), โหมดบันทึกภาพสําเร็จรูป (ภาพบุคคล, ภาพวิวทิวทัศน์, ภาพเด็ก,ภาพกีฬา, ภาพระยะใกล้, ภาพบุคคลกลางคืน), Programmed Auto [P] พร้อมระบบ flexible program, Shutter Priority Auto[S], Aperture Priority Auto[A], Manual [M] |
ไฟล์ฟอร์แมต | + NEF (RAW) + JPEG baseline compliant บีบอัดแบบ FINE ( ประมาณ 1:4), NORMAL ( ประมาณ 1:8), หรือ BASIC ( ประมาณ 1:16) + NEF (RAW) +JPEG: บันทึกไฟล์ภาพ NEF(RAW) และ JPEG ในคราวเดียวกัน |
แฟลช | + แฟลชในตัว โหมดอัตโนมัติ, ภาพบุคคล, ภาพเด็ก, ภาพระยะใกล้, ภาพบุคคลกลางคืน : โหมด Auto แฟลชยกตัวทํางานอัตโนมัติเมื่อแสงน้อย, โหมด P,S, A และ M : กดปุ่มยกแฟลชให้ทํางานเอง + Guide Number (ม./ฟุต) ประมาณ 12/39 และ 13/43 ในโหมดแฟลชแมนนวล : ที่ ISO 100 + ควบคุมแฟลช TTL : i-TTL balanced fill-flash และ i-TTL มาตรฐานสําหรับกล้องดิจตอล SLR เมื่อใช้ 420-pixel RGB sensor ทั้งแฟลชนอกรุ่น SB-900, SB-800, SB-600 หรือ SB-400 รวมถึงแฟลชในตัวกล้อง Auto aperture สําหรับแฟลช SB-900, SB-800 กับเลนส์ที่มี CPU Non-TTL auto: สําหรับแฟลชที่รองรับรวมถึง SB-900, SB-800, SB-80DX, SB-28DX, SB-28, SB-27 หรือ SB-22s Range-priority manual กําหนดระยะวัตถุ สําหรับ SB-900, SB-800 + โหมดแฟลช แฟลชอัตโนมัติ, แฟลชอัตโนมัตลดตาแดง, แฟลชลบเงา, แฟลชอัตโนมัติสัมพันธ์ความไวชัตเตอร์ต่ำ, แฟลชอัตโนมัติสัมพันธ์ความไวชัตเตอร์ต่ำลดตาแดง, แฟลชสัมพันธ์ม่านชัตเตอร์ชุดหลัง + ชดเชยแสงแฟลช -3 ถึง +1 EV ปรับขั้นได้ละเอียด 1/3 EV + สัญลักษณ์แฟลชพร้อม ไฟสถานะติดสว่างเมื่อแฟลชประจุไฟเต็มพร้อมใช้งาน ได้แก่ แฟลชในตัว หรือ SB-900, SB-800, SB-600, SB-400, SB-80DX, SB-28DX หรือ SB-50DX ; ไฟสถานะกะพริบนาน 3 วินาทีหลังยิงแฟลชเต็มกําลังแบบแมนนวลในระบบ i-TTL หรือโหมด Auto Aperture + ฮอทชูเสียบแฟลชนอก Standard ISO 518 hot-shoe contact พร้อมระบบล็อคฐานแฟลช + Nikon Creative Lighting ระบบแฟลชไร้สาย สั่งงานด้วยแฟลชนอก SB-900, SB-800 หรือ SU-800, Flash Color Information System(CLS) รองรบการใช้ งานกับแฟลชในตัวกล้อง และแฟลชนอกที่รองรบระบบ CLS + ช่องเสียบสายซิงค์แฟลช ผ่านอุปกรณ์เสริม Sync Terminal Adapter AS-15 |
พลังงาน | + แบตเตอรี่ แบตเตอรี่ชาร์จ Li-ion EN-EL9a + ตัวแปลงไฟ AC AC Adapter EH-5a (อุปกรณ์เสริม ; ต่อผ่านตัวแปลง EP-5) |
ช่องมองภาพ | + Eye-level pentamirror แบบสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว + ครอบคลุมการมองเห็น ประมาณ 95% ตามแนวนอน และ 95% ตามแนวตั้ง + อัตราการขยาย ประมาณ 0.8x (50มม. f/1.4 ที่อินฟ์นิตี้; -1.0m-1) + Eyepoint 18 มม. (-1.0m-1) + ปรับแก้สายตา -1.7 ถึง +0.5 m-1 + โฟกัสซิ่งสกรีน Type B BriteView Clear Matte Screen Mark V และ กรอบจุดโฟกัส (เลือกแสดงเส้นตารางได้) + กระจกสะท้อนภาพ Quick-return type + รูรับแสง Instant return ปรับแบบอิเล็คทรอนิคส์ |
การเชื่อมต่อ | + ช่องต่อเชื่อม USB Hi-Speed USB + ช่องสัญญาณเสียงและวีดีโอ เลือกได้แบบ NTSC และ PAL |
คุณสมบัติอื่น | + ระบบ Picture Control เลือกได้ทั้งแบบ มาตรฐาน, สีธรรมชาติ, สีสดจัดจ้าน, โทนสีเดียว, ภาพบุคคล, ภาพวิวทิวทัศน์ และเลือกบันทึกค่า, Picture Control แบบกําหนดเอง + ระบบไฟล์ DCF (Design Rule for Camera File System) 2.0, DPOF (Digital Print Order Format), Exif 2.21 (Exchangeable Image File Format สําหรับกล้องดิจิตอลถ่ายภาพนิ่ง), PictBridge + ระบบบันทึกภาพ 1) บันทึกทีละภาพ , 2) ภาพแบบต่อเนื่อง, 3) แบบตั้งเวลา, 4) รีโมทแบบหน่วงเวลา, 5) รีโมทตอบสนองทันที + ระบบบันทึกภาพต่อเนื่อง ภาพต่อเนื่องความเร็วสูงสุด 3 ภาพต่อวินาที (โฟกัสแมนนวล, ระบบบันทึกภาพ M หรือ S, ชัตเตอร์ 1/250 วินาที หรือเร็วกว่า) + ตั้งเวลาบันทึกภาพ เลือกได้ตั้งแต่ 2, 5, 10 และ 20 วินาที + การวัดแสง แบบ TTL ด้วยเซ็นเซอร์วัดแสง 420-pixel RGB + ระบบวัดแสง 1) 3D Color Matrix Metering II (เลนส์ type G และ D); Color Matrix Metering II (เลนส์ที่มีCPU อื่นๆ) 2) Center-weighted (เน้นกลางภาพ) ประมาณ 75% ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่วงกลมขนาด 8-มม.บริเวณกลางภาพ 3) Spot (เฉพาะจุด) ประมาณ 2.5% ของพื้นที่ทั้งหมด + เมนูภาษา จีนกลาง, จีนไต้หวัน, เดนมาร์ก, เนเธอร์แลนด์, อังกฤษ, ฟินแลนด์, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, อิตาลี, ญี่ปุ่น, เกาหลี, นอร์เวย์, โปแลนด์, โปรตุเกส, รัสเซีย, สเปน, สวีเดน + ช่องต่อขาตั้งกล้อง 1/4 in.(ISO 1222) + ขนาด ประมาณ 126 x 97 x 64 มม. + น้ำหนัก ประมาณ 485 กรัม (ไม่รวมแบตเตอรี่, เมมโมรี่การ์ด, ฝาปิดตัวกล้อง, แผ่นปิดหน้าจอ) + อุณหภูมิ/ความชื้น 0-40 C (32-104 F) / น้อยกว่า 85% |
ข้อมูลอื่นๆ | + Nikon D3000 (Body) พร้อมเลนส์ 18-55 Kit |
วิธีการแปลไพล์ RAW เป็น JPG โดยใช้ PhotoScape 3.4 ครับ
วิธีการแปลไพล์ RAW เป็น JPG โดยใช้ PhotoScape 3.4 ครับ
ครับ d60 club ขอเสนอ วิธีการแปลไพล์ RAW เป็น JPG โดยใช้ PhotoScape 3.4 นะครับ...วิธีการแสนจะง่ายมาก..เพราะเป็นเมนูภาษาไทย ..
สามารถ download
ได้ที่ http://download.cnet.com/PhotoScape/3000-2192_4-10703122.html?part=dl-6295843&subj=dl&tag=button
ส่วนวิธีการใช้งาน แสนง่ายเหมือนกันครับ
1. เข้าโปรแกรม PhotoScape
2. เลือกหมวด การแปลไพล์ RAW เป็น JPG
3.เลือก เพิ่มภาพแล้วเราเลือกภาพที่เป็น ไพล์ RAW ใน cardของเรามาแก้ไขแล้ว save ลงเครื่องได้เลยนะครับ...
แล้วจะเก็นเอาสาระดีๆมาฝากเพื่อนๆชาว d60 นะครับ
..................................................................................................................................
ครับ d60 club ขอเสนอ วิธีการแปลไพล์ RAW เป็น JPG โดยใช้ PhotoScape 3.4 นะครับ...วิธีการแสนจะง่ายมาก..เพราะเป็นเมนูภาษาไทย ..
สามารถ download
ได้ที่ http://download.cnet.com/PhotoScape/3000-2192_4-10703122.html?part=dl-6295843&subj=dl&tag=button
ส่วนวิธีการใช้งาน แสนง่ายเหมือนกันครับ
1. เข้าโปรแกรม PhotoScape
2. เลือกหมวด การแปลไพล์ RAW เป็น JPG
3.เลือก เพิ่มภาพแล้วเราเลือกภาพที่เป็น ไพล์ RAW ใน cardของเรามาแก้ไขแล้ว save ลงเครื่องได้เลยนะครับ...
แล้วจะเก็นเอาสาระดีๆมาฝากเพื่อนๆชาว d60 นะครับ
..................................................................................................................................
ป้ายกำกับ:
การแปลไพล์ RAW เป็น JPG
มาแล้วครับปัญหาจาก D60 ที่ผมไปแสวงหามา...Error,press shutter release buttom again
มาแล้วครับปัญหาจาก D60 ที่ผมไปแสวงหามาให้ท่านผู้อ่านได้ทราบกันและช่วยกันแก้ปัญหาด้วยครับ
อยู่ๆ ไอ้เจ้า D60 เรามันขึ้น Error,press shutter release buttom again กดอะไรก็ไม่หายครับ...งง..เป็นไก่ตาแตก ผมได้ลอง ถอดแบต ทิ้งไว้ 1 คืนแล้วใส่ก็ไม่หาย ตอนที่เป็นใช้เลน 70-300 มี MOTOR ของ SINGMAใช้โหมด AUTO พอเปลี่ยนเป็นเลน KIT 18-55 NIKON ก็ยังไม่หาย ทำงัยดีขอวิธีแก้เบื้องต้นก่อนถ้าไม่ได้ค่อยส่งศูนย์ ถ้าส่งศูนย์ส่งที่ไหนดีกล้องหมดประกันแล้วซื้อต่อมือสองมาฮะ..ปัญหานี้มีผูไดเคยเจอบ้างครับช่วยสงเคราะห์หน่อยนะครับ.....
รบกวนผู้รู้ช่วยตอบปัญหาให้ที...ครับ
อยู่ๆ ไอ้เจ้า D60 เรามันขึ้น Error,press shutter release buttom again กดอะไรก็ไม่หายครับ...งง..เป็นไก่ตาแตก ผมได้ลอง ถอดแบต ทิ้งไว้ 1 คืนแล้วใส่ก็ไม่หาย ตอนที่เป็นใช้เลน 70-300 มี MOTOR ของ SINGMAใช้โหมด AUTO พอเปลี่ยนเป็นเลน KIT 18-55 NIKON ก็ยังไม่หาย ทำงัยดีขอวิธีแก้เบื้องต้นก่อนถ้าไม่ได้ค่อยส่งศูนย์ ถ้าส่งศูนย์ส่งที่ไหนดีกล้องหมดประกันแล้วซื้อต่อมือสองมาฮะ..ปัญหานี้มีผูไดเคยเจอบ้างครับช่วยสงเคราะห์หน่อยนะครับ.....
รบกวนผู้รู้ช่วยตอบปัญหาให้ที...ครับ
ป้ายกำกับ:
d60Error
D60 club ขอเสนอเทคนิคการใช้แฟลชครับ
D60 club ขอเสนอเทคนิคการใช้แฟลชครับ
D60 club ขอเสนอการทำงานของไฟแฟลช
ไฟแฟลช เป็นอุปกรณ์ให้แสงในขณะถ่ายภาพ มีอุณหภูมิสีใกล้เคียงกับแสงอาทิตย์ตอนกลางวัน ทำงานโดยการฉายแสงในช่วงเวลาที่สั้นมาก ดังนั้นเราจึงสามารถถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วได้ชัดเจนภายใต้ แสงจากไฟแฟลชได้เป็นอย่างดี แฟลชที่เราคุ้นเคยกันคือแฟลชที่ติดมากับกล้อง ซึ่งเป็นแฟลชที่มีขนาดเล็ก กำลังส่องสว่างน้อยมากมักทำงานได้ดีในระยะไม่เกิน 3 เมตร จึงเหมาะกับการถ่ายภาพระยะใกล้ แต่ถ้าระยะห่างเกิน 5 เมตร มักจะได้ภาพที่มืดเกินไป ในกรณีนี้ มักจะใช้แฟลชเสริม จะมีกำลังไฟมากน้อยก็แล้วแต่รุ่น แบ่งเป็น 2 ประเภทคือแฟลชที่ใช้ติดกับหัวกล้องและไฟใหญ่ที่ใช้ในห้องถ่ายภาพ แฟลชราคาสูงมักจะมีอุปกรณ์แลกเปลี่ยนข้อมูลกับกล้องได้ด้วย ทำให้ที่ได้ออกมาได้แสงพอดีมากกว่า กล้องที่ต้องตั้งค่าเองหรือวัดแสงผ่านเลนส์ธรรมดา เนื่องจากตั้งค่าเองจะต้องประมาณจากระยะห่างและกำลังไฟของแฟลช ซึ่งมีโอกาสพลาดได้ง่าย ส่วนการวัดแสงผ่านเลนส์ก็ดีกว่า แต่ก็ยังมีข้อเสียบางประการเช่น การถ่ายภาพในระยะใกล้ หากแฟลชฉายแสงออกไปเต็มกำลัง กล้องอาจตั้งค่ารูรับแสงเล็กสุดแล้ว แต่ก็ยังได้ภาพที่สว่างไปอยู่ดี เนื่องจากกล้องมีข้อจำกัดในการใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงสุด จึงไม่สามารถลดการรับแสงให้พอดีได้ ส่วนแฟลชแบบที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกับกล้องได้นั้น ตัวแฟลชจะรับทราบค่าแสงต่างๆจากตัวกล้อง ทำให้แฟลชสามารถเลือกใช้กำลังไฟที่เหมาะสมกับสภาพขณะนั้นได้เป็นอย่างดี แต่แฟลชที่ติดอยู่ที่หัวกล้องจะมีข้อเสียคือเป็นแสงตรง และเป็นแสงที่ไม่นุ่มนวล และก่อให้เกิดเงาข้างหลัง ถ้ามีกำแพงอยู่ข้างหลัง ในขณะที่ไฟในห้องถ่ายภาพ จะวางห่างจากตัวกล้อง เราสามารถใช้ขาตั้งกำหนดจุดและความสูงของแสงได้ รวมทั้งใช้วัสดุ กรองแสงหรือสะท้อนแสงเพื่อให้ได้แสงที่นุ่มนวลได้ตามที่ต้องการ
D60 club ขอเสนอGuide Number
เป็น ค่าที่บ่งบอกถึงกำลังไฟของแฟลชตัวนั้น สามารถใช้เป็นแนวทางเปรียบเทียบของแฟลชแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อได้ ค่า Guide number ยิ่งมากหมายถึงกำลังไฟส่องสว่างได้มากกว่า
D60 club ขอเสนอความสัมพันธ์ระหว่างชัตเตอร์กับไฟแฟลช
กล้อง แต่ละรุ่นจะมีค่ากำหนดความเร็วชัตเตอร์สูงสุดที่จะใช้กับไฟแฟลชได้ไม่เท่า กัน ขึ้นกับเทคนิคในการสร้างม่านชัตเตอร์ของแต่ละรุ่น หากเป็นกล้องรุ่นเก่าจะต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงสุดไม่เกิน 1/60 วินาที แต่ถ้ากล้องรุ่นใหม่ทำความเร็วชัตเตอร์สูงสุดที่ใช้กับไฟแฟลชได้ถึง 1/200 วินาที สาเหตุที่เลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงสุดไม่เกินค่าที่กำหนด เพราะต้องเป็นความเร็วชัตเตอร์ที่ช่วงขณะเวลาหนึ่ง ม่านชัตเตอร์เปิดเต็มที่ ซึ่ง ณ เวลานั้น กล้องจะส่งสัญญาณให้แฟลชทำงาน ซึ่งแฟลชจะใช้เวลาฉายแสงประมาณ 1/10000 วินาที แล้วดับไป จากนั้นม่านชัตเตอร์จึงปิด กล้องรุ่นเก่าจะใช้ม่านชัตเตอร์แบบผ้าและวิ่งในแนวนอน เพราะมีเนื้อที่ด้านซ้ายขวาในการเก็บม่านชัตเตอร์ที่ทำด้วยผ้า จึงทำให้มีระยะห่างมาก ทำให้ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงสุดไม่เกิน 1/60 วินาที แต่กล้องรุ่นใหม่ใช้ม่านชัตเตอร์แบบกลีบโลหะหลายๆใบซ้อนกันและเปิดปิดในแนว ตั้ง ทำให้ใช้ระยะทางสั้นกว่า จึงเลือกใช้ความเร็วได้สูงกว่า หากเราเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงเกินกว่าที่กำหนด จะทำให้ภาพบางส่วนไม่ได้รับแสงจากแฟลช หากเป็นกล้องรุ่นใหม่ที่ม่านชัตเตอร์วิ่งในแนวตั้ง ภาพก็จะมืดบริเวณขอบบนหรือขอบล่างของภาพ แต่ถ้าเป็นกล้องรุ่นเก่าที่ม่านชัตเตอร์วิ่งในแนวนอน ภาพก็จะมืดบริเวณขอบซ้ายหรือขวาของภาพ ซึ่งบริเวณที่มืดก็จะขึ้นกับความเร็วชัตเตอร์ที่ใช้ หากใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงมากก็จะมีพื้นที่มืดมากกว่าความเร็วชัตเตอร์ต่ำ กว่า ทั้งนี้เป็นเพราะความเร็วชัตเตอร์สูงนั้น ม่านชัตเตอร์จะเปิดช่องเล็กๆ วิ่งผ่านฟิล์มไป หากเป็นความเร็วชัตเตอร์ต่ำๆ เช่น 1/60 วินาทีหรือต่ำกว่า ม่านชัตเตอร์จะเปิดเต็มที่เป็นเวลานานจนครบเวลา ดังนั้นเราสามารถเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำกว่าที่กำหนดได้ โดยที่ภาพได้รับแสงจากแฟลชทั่วทั้งภาพ
D60 club ขอเสนอความสัมพันธ์ระหว่างม่านชัตเตอร์กับไฟแฟลช
เรา สามารถตั้งค่าให้กล้องสั่งงานให้แฟลชทำงานโดยสัมพันธ์กับการทำงานของม่าน ชัตเตอร์ชุดที่ 1 หรือชุดที่ 2 ก็ได้ เนื่องจากม่านชัตเตอร์จะมี 2 ชุด ปกติแล้วม่านชั่ตเตอร์ชุดที่ 1 จะปิดอยู่ตลอดเวลา และชุดที่ 2 จะซ่อนอยู่ เมื่อเรากดปุ่มปล่อยชัตเตอร์ ม่านชัตเตอร์ชุดที่ 1 จะเคลื่อนที่ในลักษณะเปิดให้แสงผ่านเข้ามากระทบฟิล์ม และม่านชัตเตอร์ชุดที่ 2 จะเคลื่อนตัวตามชุดที่ 1 โดยปล่อยให้มีช่องว่างจะแคบหรือกว้างขึ้นอยู่กับความเร็วชัตเตอร์ที่ตั้งตาม หัวข้อก่อนหน้านี้ เมื่อครบเวลาก็จะปิดหมด เพื่อให้เข้าใจง่ายจะสมมุติว่าเราถ่ายภาพรถยนต์เปิดไฟหน้ากำลังวิ่งตอนกลาง คืน (ไม่ต้องสนใจทิศทางการวิ่งของรถยนต์)โดยใช้ความเร็วชัตเตอร์ 1/8 วินาที และใช้แฟลชด้วย หากเราเลือกให้แฟลชทำงานสัมพันธ์กับม่านชัตเตอร์ชุดที่ 1 เราจะได้ภาพรถยนต์ชัดเจนโดยที่มีแสงไฟหน้ารถยาวไปข้างหน้ารถ หากเราเลือกให้แฟลชทำงานสัมพันธ์กับม่านชัตเตอร์ชุดที่ 2 เราจะได้ภาพรถยนต์ชัดเจนโดยที่มีแสงไฟหน้ารถยาวไปข้างหลัง (ทับตัวรถ) การที่เราเลือกให้แฟลชสัมพันธ์กับม่านชุดที่ 1 หมายถึง เมื่อกล้องเริ่มทำงานจะเริ่มมีการเคลื่อนที่ของม่านชัตเตอร์ชุดที่ 1 จนเปิดกว้างสุด กล้องจะสั่งให้แฟลชฉายแสงวูปหนึ่ง แล้วกล้องจะรอจนครบเวลาชัตเตอร์ 1/8 วินาที ก็จะเลื่อนชัตเตอร์ชุดที่ 2 มาปิดไม่ให้แสงเข้า หากเรานึกภาพว่ารถวิ่งมาถึงเสาไฟฟ้าต้นที่ 1 แล้วเรากดปุ่มชัตเตอร์ แฟลชติดทันที ตัวรถจะชัดตรงเสาต้นที่ 1 แล้วรถวิ่งไปถึงเสาต้นที่ 3 ชัตเตอร์จึงจะปิด ซึ่งกล้องจะบันทึกภาพระหว่างรถเคลื่อนที่จากเสา 1 ถึง 3 โดยใช้แสงจากไฟหน้าของรถ โดยไม่มีแฟลชช่วย เพราะไฟแฟลชทำงานเพียง 1/10000 วินาที รถจึงชัดอยู่ที่เสาต้นที่ 1 เมื่อได้ภาพออกมาจึงเห็นว่า รถชัดอยู่ที่เสาต้นที่ 1 และมีแสงไฟหน้ารถยาวต่อมาจนถึงเสาต้นที่ 3 หากเป็นการตั้งให้แฟลชสัมพันธ์กับม่านชุดที่ 2 กล้องจะเริ่มบันทึกแสงไฟหน้ารถได้ตั้งแต่เสาต้นที่ 1 ยาวจนถึงเสาต้นที่ 3 ก่อนที่ม่านชัตเตอร์จะปิดลง ไฟแฟลชจะติด เราจึงเห็นภาพแสงไฟตั้งแต่เสา 1 ถึงเสา 3 และมีภาพรถชัดนิ่งอยู่ที่เสา 3 เราจึงสามารถใช้หลักการอันนี้นำไปสร้างสรรภาพได้มากมาย เช่น การถ่ายกระทงลอยน้ำ จะมีแสงเทียนเป็นทาง เป็นต้น
D60 club ขอเสนอเทคนิคการใช้แสงแฟลชที่นุ่มนวล
ไฟ แฟลชบางรุ่นจะสามารถเงยหัวแฟลชได้ ทำให้เราสามารถลดความแข็งกระด้างของการใช้แฟลชติดหัวกล้องได้ เพราะไฟที่ส่องกระทบเพดานจะสะท้อนแสงลงมาอย่างนิ่มนวล และไม่เกิดเงาดำที่กำแพงด้านหลังนางแบบ สำหรับแฟลชที่ไม่สามารถเงยได้ อาจใช้กระดาษไข หรือถุงพลาสติกขุ่น กั้นไว้ที่หน้าแฟลช เพื่อกรองให้แสงแฟลชนุ่มลงก็ได้ผลดีพอสมควร แต่ก็ยังเป็นแสงตรง ทำให้หน้านางแบบจะดูแบนกว่าการสะท้อนเพดาน มีข้อระวังเรื่องสีของเพดานที่สะท้อนแสงแฟลชด้วยคือ เพดานควรจะเป็นสีขาว เพื่อป้องกันแสงสะท้อนออกมาเป็นสีตามสีเพดาน และเพดานที่ใช้วิธีนี้ได้ ควรเป็นเพดานเรียบจะดีที่สุด เพราะสะท้อนแสงได้ดีที่สุด ส่วนเพดานแบบหลังคาจั่ว จะสะท้อนแสงลงมาได้น้อยกว่า เราอาจประยุกต์เล่นสีสรรต่างๆได้โดยการใช้กระดาษแก้วสีที่ต้องการหุ้มไว้ หน้าแฟลช เพื่อให้เป็นสีแบบแปลกๆก็ได้
D60 club ขอเสนอเทคนิคการให้แสงแบบไฟเปิด (Open Flash)หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ใช้ไฟแฟลชลบเงา มักใช้ในการถ่ายภาพตอนกลางวัน ในลักษณะย้อนแสง หรือมีเงาบนหน้านางแบบ เราสามารถใช้แฟลชช่วยลบเงาได้ แต่ตัวแบบจะต้องไม่อยู่ห่างกล้องเกินระยะทำงานของแฟลช เพราะการถ่ายภาพกลางแจ้งมักจะต้องใช้รูรับแสงค่อนข้างเล็ก ทำให้ระยะแฟลชลดลงไปตามส่วน อย่าลืมเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ไม่เกินค่าสูงสุดที่สัมพันธ์กับแฟลชด้วย ส่วนการวัดแสงก็วัดแสงตามปกติ เพื่อให้ภาพได้แสงพอดี เราเพียงแต่ใช้แฟลชช่วยลบเงาเท่านั้น
D60 club ขอเสนอการใช้แฟลชพร้อมกันหลายดวง
การ ถ่ายภาพแบบมืออาชีพ มักจะต้องใช้แหล่งแสงมากกว่า 1 แหล่งเสมอ เพื่อไม่ให้ภาพแบน และเปิดรายละเอียดภาพให้ดูมีมิติ แต่จะหลีกเลี่ยงการใช้แสงตรง โดยทั่วไปจะเป็นแสงข้าง โดยมีแหล่งแสงที่แรงที่สุดเป็นหลัก อาจเป็นแสงอาทิตย์หรือเป็นแฟลชที่วางอยู่ใกล้นางแบบที่สุดก็ได้ และมีไฟเสริมวางห่างออกมา เพื่อให้ช่วยลบเงาที่เกิดจากไฟหลัก แต่ก็สว่างน้อยกว่าไฟหลัก เพื่อให้เกิดมิติบนใบหน้า และอาจใช้ไฟเสริมเพิ่มเติมอีกตามวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น ไฟส่องผม ให้เห็นรายละเอียดของผม หรืออาจใช้แผ่นสะท้อนแสงเป็นแสงเสริมในการลบเงาจากไฟหลักก้ได้ กรณีที่มีแฟลชหลายดวงจะต้องมีอุปกรณ์พิเศษเพื่อให้แฟลชทำงานได้พร้อมกันทุก ตัว อุปกรณ์ไฟในห้องถ่ายภาพจะมีไฟนำ เพื่อส่องให้เห็นทิศทางแสงที่ตกกระทบบนตัวแบบ จะทำให้การจัดแสงทำได้ง่าย แต่ถ้าเราไม่มีไฟนำ เราอาจใช้หลอดไฟผูกติดกับแฟลชก็ได้ แต่ค่อนข้างยุ่งยาก
D60 club ขอเสนอการใช้แฟลชถ่ายภาพภายนอก
การ ถ่ายภาพตอนกลางวันกล่าวถึงไปแล้วในหัวข้อการให้แสงแบบเปิด ส่วนหัวข้อนี้จะกล่าวถึงการถ่ายภาพตอนกลางคืนโดยใช้แสงแฟลช จะคล้ายกับการประยุกต์เรื่องการให้แสงแบบเปิด คือ ใช้แฟลชลบเงา กับแนวคิดแบบใช้ไฟพร้อมกันหลายดวง แต่ในหัวข้อนี้เราจะใช้แฟลชธรรมดาดวงเดียว ขอให้นึกภาพว่าเรากำลังจะถ่ายภาพบ้านหลังหนึ่ง โดยวางกล้องบนขาตั้งกล้อง โดยเราต้องการให้แสงกับบ้านทุกด้าน เพื่อให้เห็นมิติของบ้าน ทำได้โดยตั้งเวลาแบบเปิดตลอด (B) แล้วถือแฟลชไปยิงแสงแบบกดยิงแสงโดยตรงที่ตัวแฟลชในขณะที่กล้องกำลังเปิดรับ แสงอยู่ไปรอบๆบ้าน ตามจุดที่เราคิดว่าจะให้แสงจนพอใจแล้วจึงเดินกลับมาปิดชัตเตอร์ ภาพที่ได้จะเห็นว่า ภาพบ้านจะได้รับแสงทั้งด้านหน้าและด้านข้างตามที่เรากดแฟลช ทำให้ดูเหมือนใช้ไฟหลายดวง แต่ที่จริงมีดวงเดียว เทคนิคนี้ สามารถประยุกต์ใช้กับการถ่ายภาพภายในถ้ำได้ด้วย โดยการใช้เลนส์มุมกว้าง แล้วเรากดแฟลชไปตามจุดที่น่าสนใจต่างๆ ควรระวังไม่ให้เกิดเงาเนื่องจากตัวเรายืนขวางระหว่างกำแพงถ้ำกับกล้อง จะทำให้เห็นเงาของตัวเรายืนอยู่หน้ากำแพงถ้ำ อาจจะประยุกต์ใช้กระดาษแก้ว สีต่างๆผูกไว้ที่หน้าแฟลช เพื่อให้เกิดสีต่างบนผนังถ้ำ ก็จะได้ภาพที่ดูสวยงามน่าสนใจไปอีกแบบ แต่ระวังอย่าใช้สีเลอะเกินไป
ร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยครับ...
|
ป้ายกำกับ:
เทคนิคการใช้แฟลช,
d60,
d60 club
วันนี้ผมขอนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพเบื้องต้นครับ..สำหรับมือใหม่ D60 club
วันนี้ผมขอนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพเบื้องต้นครับ..สำหรับมือใหม่ D60 club
D60 clubขอเสนอการถ่ายภาพทิวทัศน์ (Land and Sea Scape)
ผู้ที่ชื่นชอบการและนักถ่ายภาพสมัครเช่นนิยมถ่ายภาพประเภทนี้มาก เพราะสามารถถ่ายได้ง่าย สะดวก ถ่ายได้ทุกหนทุกแห่งที่มีโอกาสผ่านไป ไม่ว่าจะเป็นทิวทัศน์ป่าเขาลำเนาไพร น้ำตก หรือท้องทะเลก็ตาม อย่างน้อยผู้ถ่ายภาพก็สามารถเก็บภาพไว้เป็นที่ระลึกถึงความหลักการถ่ายภาพ ทิวทัศน์ ควรถ่ายขณะที่ท้องฟ้าแจ่มใส จะได้ภาพสวยงามชัดเจน ถ้าอากาศมืดครึ้มหรือฝนตก ภาพที่ได้จะมีสีทึบ ขาดรายละเอียด การบันทึกความสวยงามของลักษณะภูมิประเทศตามธรรมชาติดังกล่าว จะมีคุณค่าและความสวยงามนั้น ควรต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบที่ช่วยสร้างเรื่องราวให้เกิดขึ้นพยายามเลือก มุมกล้องที่แปลกตา คอยจังหวะให้มีลักษณะแสงสีที่สวยงาม สามารถสร้างบรรยากาศให้ผู้ดูเกิดอารมณ์คล้อยตาม เช่น ภาพที่มีหมอกในฤดูหนาว ควัน ฝนตก หรือพายุ ฯลฯ บรรยากาศ แสงสีในเวลาเข้ามืดก่อนจะสว่าง หรือในตอนเย็นพระอาทิตย์กำลังจะตกจะมีแสงสีที่ให้ความรุนแรงมีสีน้ำเงิน ม่วง เหลือง แสดและแดงสลับกับก้อนเมฆรูปร่างต่าง ๆ ดูสวยงาม การถ่ายภาพทิวทัศน์นิยมเปิดช่องรับแสงให้แคบเพื่อช่วยให้ภาพมีความคมและชัด ลึกตลอด แม้บางครั้งจะต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ สำหรับเลนส์ที่ใช้ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ นอกจากเลนส์ธรรมดาติดกล้องแล้ว ควรมีเลนส์มุมกว้างและเลนส์ถ่ายภาพไกลที่มีขนาดความยาวโฟกัสประมาณ 105 มม. หรือ 250 มม. เพื่อช่วยให้ได้ภาพที่มีมุมแปลกตาดีขึ้น ถ้าเป็นการถ่ายภาพขาว – ดำ ควรมีแผ่นกรองแสงสีเหลือ สีส้ม หรือสีแดงติดไปด้วย เพราะฟิลเตอร์สีดังกล่าวจะช่วยให้ภาพขาว – ดำ มองเห็นก้อนเมฆขาวตัดกับท้องฟ้า ส่วนการถ่ายภาพสีก็ควรมีแผ่นกรองแสงตัดหมอกหรือแผ่นกรองแสงโพลาไรซ์เป็น อย่างน้อย นอกจากนั้นอาจใช้แผ่นกรองแสงสำหรับเปลี่ยนแปลงสีของภาพเพื่อให้ได้ภาพ ทิวทัศน์ที่มีสีสันสวยงามแปลกตายิ่งขึ้น
D60 clubขอเสนอการถ่ายภาพระยะใกล้ (Close up)
การถ่ายภาพระยะใกล้เป็นการถ่ายภาพวัตถุสิ่งของที่มีขนาดเล็กหรือเลือกถ่ายภาพเฉพาะบางส่วนของวัตถุ
ในระยะใกล้ให้มองเห็นส่วนละเอียดต่าง ๆ ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น ถ่ายภาพเหรียญ แมลง ลายไม้ ดอกไม้
หรือวัตถุสิ่งของที่มีขนาดเล็กต่าง ๆ
D60 clubขอเสนอการถ่ายภาพระยะใกล้ต้องมีอุปกรณ์ดังนี้
1. กล้องถ่ายภาพ นิยมใช้กล้องแบบสะท้อนเลนส์เดี่ยว ซึ่งจะไม่เกิดความเหลื่อมขณะมองภาพที่ช่องเล็งภาพ
2. เลนส์ที่ใช้ควรเป็นเลนส์แมโคร (Macro) แต่ถ้าสีเลนส์มาตรฐานก็สามารถใช้เลนส์ถ่ายใกล้ (Close – up
lens) ชนิดสวมใส่หน้าเลนส์แบบแผ่นกรองแสง (Filter) ทั่วไป หรืออาจใช้กระบอกต่อ (Extension tube)
หรือใช้ส่วนพับยืด (Bellow) ต่อคั่นระหว่างเลนส์กับตัวกล้อง
3. ขาตั้งกล้อง
4. สายไกชัตเตอร์
การปรับหาระยะความคมชัดของการถ่ายภาพแบบนี้ค่อนข้างยาก เพราะเลนส์มีช่วงความชัดสั้นมาก ระยะหน้า
และระยะหลังของวัตถุจะพร่ามัว ดังนั้น ควระปิดรูรับแสงให้แคบเพื่อให้ภาพที่ได้มีความชัดลึก
D60 clubขอเสนอการถ่ายภาพดอกไม้
ภาพดอกไม้ จะแสดงให้เห็นถึงลักษณะ รูปทรง รูปร่าง และสีสันที่สวยงาม สามารถเน้นให้เห็นลวดลายของกลีบดอก ตลอดจนแนวเส้นของกิ่งก้านช่วยให้ภาพมีความงดงามโดยเฉพาะการถ่ายภาพดอกไม้ใน ระยะใกล้จะให้สีตื่นตาตื่นใจยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นดอกไม้ป่าหรือดอกไม้ที่ปลูกไว้ตามบ้านเรือน เวลาที่เหมาะสมในการถ่ายภาพดอกไม้ควรเป็นเวลาเช้า เพราะดอกไม้จะให้ความรู้สึกสดชื่น หากมีหยดน้ำค้างเกาะอยู่ตามกลีบดอกหรือหาน้ำหวานหรือน้ำผึ้งหยอดลงบนดอกไม้ เพื่อล่อให้ผึ้งหรือแมลงมาตอมก็จะได้ภาพที่สวยงามเป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น แสงที่ใช้ในการถ่ายภาพดอกไม้ควรเป็นแสงธรรมชาติโดยจัดให้แสงเข้าทางด้านข้าง ถ้าเป็นดอกไม้ชนิดที่ควรเน้นให้เห็นลักษณะความบางและโครงสร้างของกลีบดอก ควรให้แสงส่องจากด้านหลังของดอกไม้และจัดให้พื้นหลังมีสีค่อนข้างเข้ม และต้องระวังอย่าให้แสงทวนเข้าที่หน้าเลนส์ของกล้อง
การถ่ายภาพดอกไม้ ควรต้องใช้ขาตั้งกล่าวเพื่อช่วยในการปรับประยะความคมชัดที่แน่นอน พยายามจัดมุมกล้อง เพื่อหลีกเลี่ยงฉากหลังที่รกรุงรัง หรือแก้ไขโดยใช้กระดาษสีเทาหรือสีดำไปวางไว้ทางด้านหลังของดอกไม้ โดยใช้สีของกระดาษให้ตัดกับสีของดอกไม้ เพื่อความเด่นชัดหรืออาจใช้วิธีเปิดช่องรับแสงให้กว้างเพื่อจะได้ฉากหลังที่ พร่ามัว อาจใช้เลนส์ถ่ายไกลหรือเลนส์ซูมก็จะช่วยให้ได้ภาพดอกไม้ที่มีลักษณะเด่นชัด เฉพาะ สวยงามอีกแบบหนึ่ง
D60 clubขอเสนอการถ่ายภาพเวลากลางคืน (Night Picture)
การ ถ่ายภาพเวลากลางคืน ได้แก่ การถ่ายภาพที่อาศัยแสงสว่างจากไฟฟ้าตามท้องถนน ป้ายนีออนโฆษณา น้ำพุ การยิงพลุ ห้องโชว์สินค้า ไฟประดับในวันเฉลิมฉลองต่าง ๆ แสงไฟจากรถยนต์ แสงเทียน สายฟ้าแลบ ดวงจันทร์ และดวงดาวบนท้องฟ้า
ความสวยงามต่าง ๆ ที่เราสามารถมองเห็นได้ในเวลาค่ำคืนดังกล่าว เราสามารถบันทึกภาพที่งดงามเหล่านั้นด้วยกล้องถ่ายภาพ
ได้เช่นเดียวกับการถ่ายภาพในเวลากลางวัน การถ่ายภาพในเวลากลางคืนนั้นต้องมีอุปกรณ์ที่จำเป็นดังนี้
1. กล้องถ่ายภาพชนิดที่มีความเร็วชัตเตอร์ B หรือ T
2. ขาตั้งกล้อง
3. สายไกชัตเตอร์
4. นาฬิกาจับเวลา
5. ไฟฉายดวงเล็ก ๆ
6. สมุดบันทึกสำหรับจดรายละเอียด เช่น เวลาในการเปิดหน้ากล้อง
แสงสว่างจากหลอดไฟต่าง ๆ ในเวลากลางคืนนั้น เราจะวัดแสงลำบากและไม่แน่นอนจึงควรใช้ประสบการณ์ที่ได้ทดลอง
ถ่ายและจดบันทึกรายละเอียดไว้ในแต่ละครั้งมาพิจารณา ปกติจะถ่ายภาพด้วยการตั้งความเร็วไว้ที่ B หรือ T แล้วนับเวลา
(Time exposure) ใช้เวลาในการเปิดม่านชัตเตอร์ เป็นวินาทีหรือนาทีก็ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะและปริมาณของแสง
ในขณะที่ถ่ายภาพ เนื่องจากต้องใช้เวลานานในการเปิดม่านชัตเตอร์ จึงจำเป็นต้องใช้ขาตั้งกล้องเพื่อป้องกันกล้องเคลื่อนที่
และสั่นไหว ขาตั้งกล้องควรเป็นชนิดที่แข็งแรงมีที่สำหรับปรับมุมยกหน้ากล่องขึ้นและลงได้ และสามารถหมุนกล้องไปทางซ้าย
และขวาที่เรียกว่า Pan กล้องได้ ซึ่งเราจะได้ถ่ายภาพออกมามีลักษณะและสีสันที่แปลกออกไปอีกแบบหนึ่งส่วนเลนส์ที่ใช้
หากเป็นเลนส์ที่สามารถซูมภาพได้ ก็ยิ่งจะได้ภาพที่น่าสนใจเพิ่มขึ้นอีกนอกจากใช้ฟิล์มขาว–ดำ ถ่ายภาพไฟในเวลากลางคืน
ได้ แล้ว อาจใช้ฟิล์มเนกาทิฟสีหรือสไลด์สีก็ได้ ซึ่งจะได้ภาพที่มีสีสวยงามยิ่งขึ้น การเลือกใช้ฟิล์มสไลด์สีขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราจะถ่าย
เช่น การถ่ายภาพไฟตามถนน ป้ายนีออนโฆษณา ไฟประดับ ก็ควรใช้ฟิล์มแสงแดด (Day Light) ภาพที่ได้จะมีสีค่อนข้างเหลือง
อาจใช้ฟิลเตอร์สีฟ้าสวมหน้าเลนส์เพื่อแก้สีก็ได้ ถ้าเป็นภาพการแสดงบนเวที งานประเพณีต่าง ๆ ควรใช้ฟิล์มที่มีควาไวแสงสูง
เช่น 200 ISO, 400 ISO เพื่อให้สามารถจับภาพเคลื่อนไหวได้ ส่วนภาพดวงจันทร์หรือดวงดาวควรใช้ฟิล์มที่ใช้กับแสง
ไฟ ทังสเตน จะได้สีที่ถูกต้องยิ่งขึ้น สำหรับการเลือกใช้ความไวแสงฟิล์ม การเปิดหน้ากล้องและเวลาในการถ่ายภาพ ลักษณะของแสงไฟจากแหล่งต่าง ๆ ในเวลากลางคืนนั้นได้มีบันทึกไว้เป็นแนวทางดังนี้
D60 clubขอเสนอการถ่ายภาพสัตว์ (Pets & Animals)
การถ่ายภาพสัตว์อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท
1. การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยงในบ้าน สัตว์ที่เลี้ยงในบ้าน เช่น สุนัข แมว นก ปลา แต่ละชนิดก็มีรูปร่างลักษณะ สีสัน กิริยาท่าทาง และนิสัยที่แตกต่างกันออกไป เป็นสัตว์ที่น่ารักทั้งสิ้น สามารถเลือกมุมถ่ายภาพให้มีความสวยงามและน่ารักได้ พยายามใช้ความรวดเร็วในการจับภาพในจังหวะที่น่าประทับใจต่าง ๆ
2. การถ่ายภาพในสวนสัตว์ ในสวนสัตว์จะเป็นที่รวมของสัตว์หลายชนิด ซึ่งมาจากทั่วทุกมุมโลก การถ่ายภาพสัตว์ในส่วนสัตว์ควรไปถ่ายภาพในตอนเช้า ที่อากาศไม่ร้อน สัตว์จะมีอารมณ์ดี โดยเฉพาะเวลาให้อาหารสัตว์เป็นเวลาที่เหมาะที่สุดในการถ่ายภาพ เพราะสัตว์จะแสดงกิริยาต่าง ๆ ในกรณีที่ต้องการถ่ายภาพ ผ่านลูกกรงเหล็ก หรือรั้วกัน ควรเปิดช่องรับแสงของเลนส์ให้กว้าง ให้กล้องหากจากลูกกรงประมาณครึ่งเมตร ลูกกรงหรือรั้วกั้น จะพ้นระยะชัดเกิดความพร่ามัว ทำให้มองเห็นเฉพาะภาพสัตว์และยังช่วยหลบฉากหลังที่รกรุงรังให้หายไปได้อีก ด้วย
กล้องที่ใช้ถ่ายภาพสัตว์ ควรใช้กล้องแบบ 35 มม. สะท้อนเลนส์เดี่ยว โดยใช้เลนส์ซูมหรือเลนส์ถ่ายระยะไกล้ 135 มม. – 250 มม. เพื่อให้สามารถดึงภาพให้มีขนาดใหญ่ได้ ส่วนฟิล์มควรใช้ฟิล์มที่มีความไวแสงสูง 250 ISO หรือ 400 ISO
3. การถ่ายภาพสัตว์ป่า เป็นการออกไปถ่ายภาพสัตว์ในป่าเขาตามธรรมชาติ ซึ่งในบ้านเมืองเราคงหาโอกาสได้ยาก เพราะไม่ค่อยมีสัตว์ป่าให้ได้เห็นกัน จะมีบ้างก็พวกเก้ง กวาง ในป่าสงวนบ้างแห่งเท่านั้น การรอบถ่ายภาพสัตว์ป่า จำเป็นต้องถ่ายจากบังไพร หรือซุ้มไม้มิดชิดเพื่อไม่ให้สัตว์มองเห็นและกลัว ควรต้องศึกษาแหล่งที่พักหลับนอน แหล่งอาหาร และแหล่งน้ำของสัตว์อย่างน้อยจะทำให้มีโอกาสการถ่ายภาพได้ง่ายเข้า อุปกรณ์ที่จำเป็นที่สุดในการถ่ายภาพสัตว์ป่าคือเลนส์ระยะไกล มีความยาวโฟกัสสูง ไม่ต่ำกว่า 400 มม. – 1200 มม. หรือใช้ Teleconverter 2X เพื่อช่วยให้สามารถถ่ายภาพในระยะไกล ๆ ได้ กล้องควรตั้งบนข้างตั้งใช้ฟิล์มที่มีความไวแสงสูง จะได้ภาพที่มีความคมชัด แน่นอน
D60 clubขอเสนอการถ่ายภาพย้อนแสง (Silhouete)
การถ่ายภาพย้อนแสงหรือภาพเงาดำ ภาพประเภทนี้นักถ่ายภาพสมัครเล่นไม่ค่อย
ให้ความสนใจ เพราะจะได้ภาพที่ไม่ชัด ไม่เห็นรายละเอียดของวัตถุ ถ้าถ่ายภาพ
คนจะมองดูแล้วมืด แต่ที่จริงแล้วภาพย้อนแสงไม่ว่าจะเป็นภาพสี หรือขาว–ดำ
ก็ตามจะช่วยให้เราเรียนรู้เรื่องรูปร่าง (Shape) ของวัตถุที่บังแสงอยู่ นักถ่ายภาพ
อาชีพมักจะเสาะแสวงหาภาพประเภทนี้อยู่เสมอ เพราะภาพย้อนแสงจะให้ทั้งความงาม
ให้อารมณ์ ให้สีสันรุนแรง ให้ความแปลกตาไปอีกลักษณะหนึ่งการถ่ายภาพย้อนแสง
ควรถ่ายให้ภาพมีช่วงความชัดลึก โดยเปิดช่องรับแสงให้แคบกว่าปกติเล็กน้อย
พยายามเลือกวัตถุที่มีโครงร่างที่สวยงามหามุมย้อนแสง โดยวางจังหวะของดวงอาทิตย์
ให้พอดี
D60 clubขอเสนอการเขียนภาพด้วยแสงไฟ
การ ถ่ายภาพแบบให้แสงไฟสีต่าง ๆ ต้องใช้ห้องที่มืดสนิทโดยมีฉากผ้าหรือกระดาษสีดำ แสงไฟสีทำได้โดยใช้ไฟฉายธรรมดาขนาดเล็ก หุ้มกระดาษแก้วสีต่าง ๆ ตามความต้องการ จัดตั้งไฟแฟลชให้ส่องตรงไปยังแบบ แบะอาจใช้แฟลชอีก 1 ดวง ติดสนูท (Snoot) เป็นกรวยบีบแสง ให้ส่องตรงไปเฉพาะจุดที่ผมเพื่อมิให้ตัวแบบกลืนไปกับความมืดของฉากหลัง
เมื่อ จัดฉากเรียบร้อยแล้วให้แบบยืนแสดงท่าตามต้องการ ให้ผู้วาดเส้น แสง สี คลุมพาดดำถือไฟฉายหุ้มกระดาษแก้วสี ยืนด้านหลังของแบบกล้องถ่ายภาพต้องตั้งบนขาตั้งกล้อง เปิดความเร็วชัตเตอร์ที่ B ส่วนช่องรับแสงตั้งไว้ที่ f11 เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยแล้วก็ให้กด ชัตเตอร์ ผู้วาดเส้นจะเริ่มเปิดไฟฉายวาดแสงสีต่าง ๆ ตามต้องการ เช่น ใช้กระดาษแก้วสีแดงวาด 15 วินาที แล้วเปลี่ยนกระดาษแก้วเป็นสีฟ้า 10 วินาที กระดาษแก้วสีเหลืองอีก 5 วินาที หลังจากนั้นผู้วาดแบบจะออกมาจากฉากเปิดไฟแฟลช 1 ครั้ง แล้วปิดชัตเตอร์จะได้ภาพตามต้องการ
ส่วนภาพแสงเทียนประกอบกับดอกไม้ไฟ นั้น ก็จัดฉากให้เป็นสีดำ จัดแบบเทียนไขสีต่าง ๆ ให้ได้ขนาดตามต้องการ ตั้งบนแผ่นไม้รองเทียนที่มีขาตั้งสีดำกลมกลืนกับความมืด กล้องถ่ายภาพตั้งบนขาตั้งกล้อง เปิดความเร็วชัตเตอร์ที่ B ช่องรับแสงเปิดที่ f11 เมื่อเรียบร้อยแล้ว จุดเทียนไขกดชัตเตอร์ใช้เวลาประมาณ 5 วินาที จากนั้นให้ผู้ช่วยที่คลุมผ้าดำ จุดดอกไม้ไฟวนไปมารอบเทียนไขอีกประมาณ 3 – 5 วินาที แล้วปิดชัตเตอร์
D60 clubขอเสนอการถ่ายภาพเคลื่อนไหว (Action)
การถ่ายภาพเคลื่อนไหว หมายถึง การถ่ายภาพของวัตถุที่เคลื่อนไหว เช่น คนวิ่ง กระโดดโลดเต้น เล่นชิงช้ากระโดดสูง
ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน รถกำลังแล่น หรือการแข่งขันกีฬาด้านความเร็วประเภทต่าง ๆ การถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนไหว
ดังกล่าวอาจจะทำได้ใน 3 ลักษณะ คือ
1. การจับภาพวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวให้หยุดนิ่ง (Stop – action) การถ่ายภาพในลักษณะนี้ต้องตั้งความเร็วชัตเตอร์ให้สูง
เช่น 1/250, 1/500 หรือ 1/1000 วินาที ตามความเหมาะสมกับความเร็วของวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ เมื่อตั้งความเร็วชัตเตอร์
สูง ๆ จำเป็นต้องเปิดช่องรับแสงให้กว้างขึ้น เพื่อชดเชยให้แสงผ่านเข้าไปทำปฏิกิริยากับฟิล์มให้มากพอ
การถ่ายภาพวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวให้หยุดนิ่งได้นั้น จะตั้งความเร็วชัตเตอร์เท่าใดย่อมขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 4 ประการ คือ
1) ความเร็วของวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหว
2) ทิศทางการเคลื่อนไหวของวัตถุ
3) ระยะทางจากกล้องถึงวัตถุ
4) ความยาวโฟกัสของเลนส์
2. การถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนไหวดูแล้วให้รู้สึกว่าเหมือนกำลังเคลื่อนไหว การถ่ายภาพในลักษณะนี้ ต้องตั้งความเร็วชัตเตอร์
ให้ช้า ๆ เช่น 1/30 วินาที, 1/15 วินาที หรือ 1/8 วินาที เป็นต้น เมื่อตั้งความเร็วชัตเตอร์ช้า ก็ต้องเปิดช่องรับแสงให้เล็กลง
ภาพที่ได้จะปรากฏว่าสิ่งที่กำลังเคลื่อนไหวจะดูพร่า ทำให้เห็นว่าวัตถุนั้นกำลังเคลื่อนที่ส่วนวัตถุหรือสิ่งที่อยู่นิ่งจะคมชัด
และการถ่ายภาพลักษณะนี้ควรจับถือกล้องให้นิ่งและมั่นคง หรือควรใช้ขาตั้งกล้องช่วย เพื่อไม่ให้กล้องสั่นไหว
3. การถ่ายภาพวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวให้เห็นวัตถุชัด ส่วนฉากหลังพร่ามัวเป็นทางยาว การถ่ายภาพในลักษณะนี้ จะต้อง
แพนกล้อง (Paning) ตามวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหว พร้อม ๆ กับการกดไกชัตเตอร์ ความเร็วชัตเตอร์ความตั้งให้ช้า เช่น
1/60วินาที,1/30วินาทีหรือช้ากว่าทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเร็วของวัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยการปรับระยะชัดให้ปรับไปตรงจุดที่วัตถุ
เคลื่อนที่ผ่าน
การถ่ายภาพหุ่นนิ่ง (Still life)
การ ถ่ายภาพหุ่นนิ่ง หมายถึง การถ่ายภาพวัตถุสิ่งของต่าง ๆ เช่น แจกันดอกไม้ ถ้วยจานช้อนซ้อม ขวดเหล้า เบียร์ แก้ว บุหรี่ น้ำหอม เสื่อผ้า รองเท้า ผัก ผลไม้ อาหาร ฯลฯ จุดมุ่งหมายส่วนใหญ่ก็เพื่อนำภาพไปจัดทำเป็นสื่อในการโฆษณา เช่น ทำปกหนังสือ วารสาร โปสเตอร์ หรือสิ่งพิมพ์อื่น ๆ
การฝึกถ่ายภาพหุ่นนิ่ง จะช่วยให้เราได้เรียนรู้เทคนิคต่าง ๆในการถ่ายภาพได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้เพราะวัตถุสิ่งของต่าง ๆที่นำมาถ่ายภาพจะอยู่นิ่งไม่เคลื่อนไหวเราสามารถทดลองจัดภาพได้หลาย ๆแบบตามต้องการ ส่วนการใช้แสงก็ทำได้หลายลักษณะ อาจใช้แสงธรรมชาติ แต่ส่วนมากมักใช้แสงไฟประดิษฐ์ เพราะสามารถควบคุมทิศทางตลอดจนปริมาณของแสงสว่างได้ตามความเหมาะสม
D60 clubขอเสนอขั้นตอนการถ่ายภาพหุ่นนิ่ง
1. จัดสถานที่ได้แก่ โต๊ะชุดสำหรับถ่ายภาพหุ่นนิ่งประกอบด้วยขาตั้งเหล็ก หรืออลูมิเนียมมีแผ่นพลาสติกสีต่าง ๆ เช่นสีขาว ดำ น้ำเงิน และม่วง เป็นที่วางวัตถุที่จะถ่ายภาพ ผิวหน้าของแผ่นพลาสติกมี 2 ด้าน ด้านหนึ่งผิวด้าน ส่วนอีกด้านหนึ่งผิวจะมัน คุณสมบัติของแผ่นพลาสติก คือถ้าใช้ไฟส่องด้านบนจะได้แสงตกกระทบธรรมดา แต่ถ้าใช้ไฟส่องจากด้านล้าง แสงจะสามารถทะลุพื้นพลาสติกขึ้นด้านบนสามารถใช้เป็นแสงสำหรับลดเงา หรือใช้เป็นแสงส่องจากพื้นล้างและด้านหลังของวัตถุ
2. ออกแบบ สเก็ตภาพ (lay – out) การจัดวางองค์ประกอบของวัตถุ ซึ่งจะทำให้ผู้ร่วมงานเข้าใจรูปแบบและแนวคิด สามารถจัดหาวัตถุประกอบฉาก ตลอดจนการจัดภาพได้ถูกต้องและรวดเร็วขึ้น
3. จัดหาวัตถุ สิ่งของ ที่จะถ่ายภาพ ถ้าเป็นประเภทผัก ผลไม้ ควรเตรียมไว้ให้มากพอ คอยฉีดน้ำดูแลให้สดอยู่เสมอ
4. นำวัตถุสิ่งของที่จะถ่าย วางบนโต๊ะถ่ายภาพ โดยจัดวางตามแบบที่สเกตภาพไว้
5. ทดลองจัดแสง ซึ่งอาจใช้หลอดไฟทังสเตน ถ้าเป็นการถ่ายภาพชิ้นเล็ก ๆ ก็ใช้สปอตไลท์ 500 วัตต์ 2-3 ดวงแต่ถ้าเป็นการถ่ายภาพขนาดใหญ่ ก็ต้องใช้ไฟที่มีกำลังวัตต์สูง ๆ เช่น 2000 วัตต์ถึง 5000 วัตต์ โดยใช้ผ่านแผ่นกรองแสงเพื่อให้ได้แสงที่นุ่มนวล ใช้แผ่นสะท้อนแสงลดเงาและอาจใช้ไฟส่องฉากหลัง เพื่อเน้นวัตถุให้เห็นเด่นชัดในปัจจุบันนิยมใช้แฟลชอิเลคทรอนิคส์ มีอุปกรณ์ เช่น ร่มสะท้อนแสง จานสะท้อนแสง ประตูโคม (Barn doors) กรวยแสง (Snoot) ซึ่งจะให้ความสะดวก สามารถบังคับทิศทางและปริมาณของแสงได้ตามต้องการ
6. กล้องสำหรับถ่ายภาพหุ่นนิ่ง ถ้าไม่จำเป็นต้องนำภาพไปขยายให้ใหญ่มาก ก็อาจใช้กล้อง ขนาด 35 มม.แต่ถ้าต้องการขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ ก็ควรใช้กล้องขนาดกลางที่ใช้ฟิล์มขนาด 4” x 5” กล้องถ่ายภาพต้องตั้งบนขาตั้งกล้องให้มั่นคง เพราะการถ่ายภาพหุ่นนิ่งต้องการภาพที่ละเอียดชัดเจน และชัดลึกจึงต้องเปิดช่องรับแสงให้แคบมาก ๆ เช่น f16 ฉะนั้นความเร็วชัตเตอร์ จะต้องช้ามากเพื่อให้สัมพันธ์กับขนาดช่องรับแสง
D60 clubขอเสนอการถ่ายภาพบุคคล (Portraits)
การ ถ่ายภาพบุคคล เป็นการบันทึกโครงสร้างลักษณะ และความนึกคิดของ ผู้ถ่ายภาพ และผู้ถูกถ่ายภาพฉะนั้นภาพถ่ายบุคคลจึงเปรียบเสมือนตัวแทนบุคคลที่ถูกถ่าย และ
ผู้ถูกถ่ายภาพ ฉะนั้น ภาพถ่ายบุคคลจึงเปรียบเสมือนตัวแทนบุคคลที่ถูกถ่าย ทั้งในด้าน
ความนึกคิดและลักษณะท่าทาง ภาพถ่ายบุคคลที่ดีควรแสดงออกใน 2 ประการ คือ
1. ความนึกและการสร้างสรรค์ของผู้ถ่ายภาพ
2. สามารถแสดงบุคลิกของผู้ถูกถ่ายได้เป็นอย่างดี
ภาพถ่ายบุคคลที่แสดงออกได้ทั้ง 2 ประการดังกล่าว จำเป็นต้องมีความเข้าใจในองค์ประกอบต่าง ๆดังนี้คือ
1. การจัดเสื่อผ้าให้เหมาะสมกับบุคลิกและอาชีพ
2. การจัดฉาก อาจจัดในสตูดิโอ หรือฉากธรรมชาติ
3. การจัดภาพ จัดท่าทาง ของผู้เป็นแบบ
4. การจัดแสง อาจใช้แสงธรรมชาติ หรือแสงไฟประดิษฐ์
5. การเลือกใช้กล้อง ฟิล์ม แผ่นกลองแสงและเลนส์ในการถ่ายภาพให้เหมาะสม เลนส์ที่ใช้ในการถ่ายภาพบุคคลควรเป็นเลนส์ถ่ายภาพระยะไกล ความยาวโฟกัสประมาณ 105 มม. หรือ 135 มม.
6. การเลือกมุมกล้องในการถ่ายภาพ
D60 clubขอเสนอการถ่ายภาพเด็ก
การ ถ่ายภาพเด็กเป็นการบันทึกภาพความไร้เดียงสา ความน่ารัก ความบริสุทธิ์ตลอดจนความสนุกสนานร่าเริง ไว้ในแผ่นภาพ ลักษณะธรรมชาติของเด็กนั้นมักไม่ชอบอยู่นิ่งและ ชอบซุกซนตลอดเวลา ฉะนั้นก่อนถ่ายภาพควรให้เด็กได้เล่นอยู่กับของเล่น
ที่ถูกใจเล่นกับสัตว์ เลี้ยง หรือทำความสนิทสนมกับเด็ก เล่าเรื่องสนุกสนาน ทำท่าทางตลกและชักชวนให้เด็กทำสิ่งที่เขาชอบ ผู้ถ่ายภาพต้องคอยกดไกชัตเตอร์ในจังหวะที่เด็กกำลังอยู่ในท่าทางและอารมณ์ ที่เป็นตัวของตัวเองตามธรรมชาติมากที่สุด
การถ่ายภาพเด็กไม่ควรบังคับ เด็กของตัวเองให้ตั้งทางต่าง ๆ ซึ่งจะได้ภาพที่แข็งไม่เป็นชีวิตจริง เสียลักษณะความเป็นธรรมชาติ แต่ควรบันทึกพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของเขาไว้ เช่น การเรียนการเล่นหรือแม้แต่กำลังร้องไห้น้ำตาไหลภาพต่าง ๆ เหล่านี้ อาจแสดงให้เห็นถึงความซุกซน ความดื้อรั้น และอารมณ์ต่าง ๆ ซึ่งจะให้ความน่ารักความประทับใจเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้ได้ภาพ
ถ่ายที่มีลักษณะเป็นธรรมชาติ ควรใช้การถ่ายภาพทีเผลอ (Candid photography) หมายถึง การแอบถ่ายโดยใช้แสงธรรมชาติ
ไม่ควรใช้ไฟแฟลช เพราะแสงไฟจะทำให้เด็กรู้สึกตัว อาจทำให้พลาดโอกาสที่ดีไปได้
ผู้ที่ชื่นชอบการและนักถ่ายภาพสมัครเช่นนิยมถ่ายภาพประเภทนี้มาก เพราะสามารถถ่ายได้ง่าย สะดวก ถ่ายได้ทุกหนทุกแห่งที่มีโอกาสผ่านไป ไม่ว่าจะเป็นทิวทัศน์ป่าเขาลำเนาไพร น้ำตก หรือท้องทะเลก็ตาม อย่างน้อยผู้ถ่ายภาพก็สามารถเก็บภาพไว้เป็นที่ระลึกถึงความหลักการถ่ายภาพ ทิวทัศน์ ควรถ่ายขณะที่ท้องฟ้าแจ่มใส จะได้ภาพสวยงามชัดเจน ถ้าอากาศมืดครึ้มหรือฝนตก ภาพที่ได้จะมีสีทึบ ขาดรายละเอียด การบันทึกความสวยงามของลักษณะภูมิประเทศตามธรรมชาติดังกล่าว จะมีคุณค่าและความสวยงามนั้น ควรต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบที่ช่วยสร้างเรื่องราวให้เกิดขึ้นพยายามเลือก มุมกล้องที่แปลกตา คอยจังหวะให้มีลักษณะแสงสีที่สวยงาม สามารถสร้างบรรยากาศให้ผู้ดูเกิดอารมณ์คล้อยตาม เช่น ภาพที่มีหมอกในฤดูหนาว ควัน ฝนตก หรือพายุ ฯลฯ บรรยากาศ แสงสีในเวลาเข้ามืดก่อนจะสว่าง หรือในตอนเย็นพระอาทิตย์กำลังจะตกจะมีแสงสีที่ให้ความรุนแรงมีสีน้ำเงิน ม่วง เหลือง แสดและแดงสลับกับก้อนเมฆรูปร่างต่าง ๆ ดูสวยงาม การถ่ายภาพทิวทัศน์นิยมเปิดช่องรับแสงให้แคบเพื่อช่วยให้ภาพมีความคมและชัด ลึกตลอด แม้บางครั้งจะต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ สำหรับเลนส์ที่ใช้ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ นอกจากเลนส์ธรรมดาติดกล้องแล้ว ควรมีเลนส์มุมกว้างและเลนส์ถ่ายภาพไกลที่มีขนาดความยาวโฟกัสประมาณ 105 มม. หรือ 250 มม. เพื่อช่วยให้ได้ภาพที่มีมุมแปลกตาดีขึ้น ถ้าเป็นการถ่ายภาพขาว – ดำ ควรมีแผ่นกรองแสงสีเหลือ สีส้ม หรือสีแดงติดไปด้วย เพราะฟิลเตอร์สีดังกล่าวจะช่วยให้ภาพขาว – ดำ มองเห็นก้อนเมฆขาวตัดกับท้องฟ้า ส่วนการถ่ายภาพสีก็ควรมีแผ่นกรองแสงตัดหมอกหรือแผ่นกรองแสงโพลาไรซ์เป็น อย่างน้อย นอกจากนั้นอาจใช้แผ่นกรองแสงสำหรับเปลี่ยนแปลงสีของภาพเพื่อให้ได้ภาพ ทิวทัศน์ที่มีสีสันสวยงามแปลกตายิ่งขึ้น
D60 clubขอเสนอการถ่ายภาพระยะใกล้ (Close up)
การถ่ายภาพระยะใกล้เป็นการถ่ายภาพวัตถุสิ่งของที่มีขนาดเล็กหรือเลือกถ่ายภาพเฉพาะบางส่วนของวัตถุ
ในระยะใกล้ให้มองเห็นส่วนละเอียดต่าง ๆ ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น ถ่ายภาพเหรียญ แมลง ลายไม้ ดอกไม้
หรือวัตถุสิ่งของที่มีขนาดเล็กต่าง ๆ
D60 clubขอเสนอการถ่ายภาพระยะใกล้ต้องมีอุปกรณ์ดังนี้
1. กล้องถ่ายภาพ นิยมใช้กล้องแบบสะท้อนเลนส์เดี่ยว ซึ่งจะไม่เกิดความเหลื่อมขณะมองภาพที่ช่องเล็งภาพ
2. เลนส์ที่ใช้ควรเป็นเลนส์แมโคร (Macro) แต่ถ้าสีเลนส์มาตรฐานก็สามารถใช้เลนส์ถ่ายใกล้ (Close – up
lens) ชนิดสวมใส่หน้าเลนส์แบบแผ่นกรองแสง (Filter) ทั่วไป หรืออาจใช้กระบอกต่อ (Extension tube)
หรือใช้ส่วนพับยืด (Bellow) ต่อคั่นระหว่างเลนส์กับตัวกล้อง
3. ขาตั้งกล้อง
4. สายไกชัตเตอร์
การปรับหาระยะความคมชัดของการถ่ายภาพแบบนี้ค่อนข้างยาก เพราะเลนส์มีช่วงความชัดสั้นมาก ระยะหน้า
และระยะหลังของวัตถุจะพร่ามัว ดังนั้น ควระปิดรูรับแสงให้แคบเพื่อให้ภาพที่ได้มีความชัดลึก
D60 clubขอเสนอการถ่ายภาพดอกไม้
ภาพดอกไม้ จะแสดงให้เห็นถึงลักษณะ รูปทรง รูปร่าง และสีสันที่สวยงาม สามารถเน้นให้เห็นลวดลายของกลีบดอก ตลอดจนแนวเส้นของกิ่งก้านช่วยให้ภาพมีความงดงามโดยเฉพาะการถ่ายภาพดอกไม้ใน ระยะใกล้จะให้สีตื่นตาตื่นใจยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นดอกไม้ป่าหรือดอกไม้ที่ปลูกไว้ตามบ้านเรือน เวลาที่เหมาะสมในการถ่ายภาพดอกไม้ควรเป็นเวลาเช้า เพราะดอกไม้จะให้ความรู้สึกสดชื่น หากมีหยดน้ำค้างเกาะอยู่ตามกลีบดอกหรือหาน้ำหวานหรือน้ำผึ้งหยอดลงบนดอกไม้ เพื่อล่อให้ผึ้งหรือแมลงมาตอมก็จะได้ภาพที่สวยงามเป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น แสงที่ใช้ในการถ่ายภาพดอกไม้ควรเป็นแสงธรรมชาติโดยจัดให้แสงเข้าทางด้านข้าง ถ้าเป็นดอกไม้ชนิดที่ควรเน้นให้เห็นลักษณะความบางและโครงสร้างของกลีบดอก ควรให้แสงส่องจากด้านหลังของดอกไม้และจัดให้พื้นหลังมีสีค่อนข้างเข้ม และต้องระวังอย่าให้แสงทวนเข้าที่หน้าเลนส์ของกล้อง
การถ่ายภาพดอกไม้ ควรต้องใช้ขาตั้งกล่าวเพื่อช่วยในการปรับประยะความคมชัดที่แน่นอน พยายามจัดมุมกล้อง เพื่อหลีกเลี่ยงฉากหลังที่รกรุงรัง หรือแก้ไขโดยใช้กระดาษสีเทาหรือสีดำไปวางไว้ทางด้านหลังของดอกไม้ โดยใช้สีของกระดาษให้ตัดกับสีของดอกไม้ เพื่อความเด่นชัดหรืออาจใช้วิธีเปิดช่องรับแสงให้กว้างเพื่อจะได้ฉากหลังที่ พร่ามัว อาจใช้เลนส์ถ่ายไกลหรือเลนส์ซูมก็จะช่วยให้ได้ภาพดอกไม้ที่มีลักษณะเด่นชัด เฉพาะ สวยงามอีกแบบหนึ่ง
D60 clubขอเสนอการถ่ายภาพเวลากลางคืน (Night Picture)
การ ถ่ายภาพเวลากลางคืน ได้แก่ การถ่ายภาพที่อาศัยแสงสว่างจากไฟฟ้าตามท้องถนน ป้ายนีออนโฆษณา น้ำพุ การยิงพลุ ห้องโชว์สินค้า ไฟประดับในวันเฉลิมฉลองต่าง ๆ แสงไฟจากรถยนต์ แสงเทียน สายฟ้าแลบ ดวงจันทร์ และดวงดาวบนท้องฟ้า
ความสวยงามต่าง ๆ ที่เราสามารถมองเห็นได้ในเวลาค่ำคืนดังกล่าว เราสามารถบันทึกภาพที่งดงามเหล่านั้นด้วยกล้องถ่ายภาพ
ได้เช่นเดียวกับการถ่ายภาพในเวลากลางวัน การถ่ายภาพในเวลากลางคืนนั้นต้องมีอุปกรณ์ที่จำเป็นดังนี้
1. กล้องถ่ายภาพชนิดที่มีความเร็วชัตเตอร์ B หรือ T
2. ขาตั้งกล้อง
3. สายไกชัตเตอร์
4. นาฬิกาจับเวลา
5. ไฟฉายดวงเล็ก ๆ
6. สมุดบันทึกสำหรับจดรายละเอียด เช่น เวลาในการเปิดหน้ากล้อง
แสงสว่างจากหลอดไฟต่าง ๆ ในเวลากลางคืนนั้น เราจะวัดแสงลำบากและไม่แน่นอนจึงควรใช้ประสบการณ์ที่ได้ทดลอง
ถ่ายและจดบันทึกรายละเอียดไว้ในแต่ละครั้งมาพิจารณา ปกติจะถ่ายภาพด้วยการตั้งความเร็วไว้ที่ B หรือ T แล้วนับเวลา
(Time exposure) ใช้เวลาในการเปิดม่านชัตเตอร์ เป็นวินาทีหรือนาทีก็ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะและปริมาณของแสง
ในขณะที่ถ่ายภาพ เนื่องจากต้องใช้เวลานานในการเปิดม่านชัตเตอร์ จึงจำเป็นต้องใช้ขาตั้งกล้องเพื่อป้องกันกล้องเคลื่อนที่
และสั่นไหว ขาตั้งกล้องควรเป็นชนิดที่แข็งแรงมีที่สำหรับปรับมุมยกหน้ากล่องขึ้นและลงได้ และสามารถหมุนกล้องไปทางซ้าย
และขวาที่เรียกว่า Pan กล้องได้ ซึ่งเราจะได้ถ่ายภาพออกมามีลักษณะและสีสันที่แปลกออกไปอีกแบบหนึ่งส่วนเลนส์ที่ใช้
หากเป็นเลนส์ที่สามารถซูมภาพได้ ก็ยิ่งจะได้ภาพที่น่าสนใจเพิ่มขึ้นอีกนอกจากใช้ฟิล์มขาว–ดำ ถ่ายภาพไฟในเวลากลางคืน
ได้ แล้ว อาจใช้ฟิล์มเนกาทิฟสีหรือสไลด์สีก็ได้ ซึ่งจะได้ภาพที่มีสีสวยงามยิ่งขึ้น การเลือกใช้ฟิล์มสไลด์สีขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราจะถ่าย
เช่น การถ่ายภาพไฟตามถนน ป้ายนีออนโฆษณา ไฟประดับ ก็ควรใช้ฟิล์มแสงแดด (Day Light) ภาพที่ได้จะมีสีค่อนข้างเหลือง
อาจใช้ฟิลเตอร์สีฟ้าสวมหน้าเลนส์เพื่อแก้สีก็ได้ ถ้าเป็นภาพการแสดงบนเวที งานประเพณีต่าง ๆ ควรใช้ฟิล์มที่มีควาไวแสงสูง
เช่น 200 ISO, 400 ISO เพื่อให้สามารถจับภาพเคลื่อนไหวได้ ส่วนภาพดวงจันทร์หรือดวงดาวควรใช้ฟิล์มที่ใช้กับแสง
ไฟ ทังสเตน จะได้สีที่ถูกต้องยิ่งขึ้น สำหรับการเลือกใช้ความไวแสงฟิล์ม การเปิดหน้ากล้องและเวลาในการถ่ายภาพ ลักษณะของแสงไฟจากแหล่งต่าง ๆ ในเวลากลางคืนนั้นได้มีบันทึกไว้เป็นแนวทางดังนี้
D60 clubขอเสนอการถ่ายภาพสัตว์ (Pets & Animals)
การถ่ายภาพสัตว์อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท
1. การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยงในบ้าน สัตว์ที่เลี้ยงในบ้าน เช่น สุนัข แมว นก ปลา แต่ละชนิดก็มีรูปร่างลักษณะ สีสัน กิริยาท่าทาง และนิสัยที่แตกต่างกันออกไป เป็นสัตว์ที่น่ารักทั้งสิ้น สามารถเลือกมุมถ่ายภาพให้มีความสวยงามและน่ารักได้ พยายามใช้ความรวดเร็วในการจับภาพในจังหวะที่น่าประทับใจต่าง ๆ
2. การถ่ายภาพในสวนสัตว์ ในสวนสัตว์จะเป็นที่รวมของสัตว์หลายชนิด ซึ่งมาจากทั่วทุกมุมโลก การถ่ายภาพสัตว์ในส่วนสัตว์ควรไปถ่ายภาพในตอนเช้า ที่อากาศไม่ร้อน สัตว์จะมีอารมณ์ดี โดยเฉพาะเวลาให้อาหารสัตว์เป็นเวลาที่เหมาะที่สุดในการถ่ายภาพ เพราะสัตว์จะแสดงกิริยาต่าง ๆ ในกรณีที่ต้องการถ่ายภาพ ผ่านลูกกรงเหล็ก หรือรั้วกัน ควรเปิดช่องรับแสงของเลนส์ให้กว้าง ให้กล้องหากจากลูกกรงประมาณครึ่งเมตร ลูกกรงหรือรั้วกั้น จะพ้นระยะชัดเกิดความพร่ามัว ทำให้มองเห็นเฉพาะภาพสัตว์และยังช่วยหลบฉากหลังที่รกรุงรังให้หายไปได้อีก ด้วย
กล้องที่ใช้ถ่ายภาพสัตว์ ควรใช้กล้องแบบ 35 มม. สะท้อนเลนส์เดี่ยว โดยใช้เลนส์ซูมหรือเลนส์ถ่ายระยะไกล้ 135 มม. – 250 มม. เพื่อให้สามารถดึงภาพให้มีขนาดใหญ่ได้ ส่วนฟิล์มควรใช้ฟิล์มที่มีความไวแสงสูง 250 ISO หรือ 400 ISO
3. การถ่ายภาพสัตว์ป่า เป็นการออกไปถ่ายภาพสัตว์ในป่าเขาตามธรรมชาติ ซึ่งในบ้านเมืองเราคงหาโอกาสได้ยาก เพราะไม่ค่อยมีสัตว์ป่าให้ได้เห็นกัน จะมีบ้างก็พวกเก้ง กวาง ในป่าสงวนบ้างแห่งเท่านั้น การรอบถ่ายภาพสัตว์ป่า จำเป็นต้องถ่ายจากบังไพร หรือซุ้มไม้มิดชิดเพื่อไม่ให้สัตว์มองเห็นและกลัว ควรต้องศึกษาแหล่งที่พักหลับนอน แหล่งอาหาร และแหล่งน้ำของสัตว์อย่างน้อยจะทำให้มีโอกาสการถ่ายภาพได้ง่ายเข้า อุปกรณ์ที่จำเป็นที่สุดในการถ่ายภาพสัตว์ป่าคือเลนส์ระยะไกล มีความยาวโฟกัสสูง ไม่ต่ำกว่า 400 มม. – 1200 มม. หรือใช้ Teleconverter 2X เพื่อช่วยให้สามารถถ่ายภาพในระยะไกล ๆ ได้ กล้องควรตั้งบนข้างตั้งใช้ฟิล์มที่มีความไวแสงสูง จะได้ภาพที่มีความคมชัด แน่นอน
D60 clubขอเสนอการถ่ายภาพย้อนแสง (Silhouete)
การถ่ายภาพย้อนแสงหรือภาพเงาดำ ภาพประเภทนี้นักถ่ายภาพสมัครเล่นไม่ค่อย
ให้ความสนใจ เพราะจะได้ภาพที่ไม่ชัด ไม่เห็นรายละเอียดของวัตถุ ถ้าถ่ายภาพ
คนจะมองดูแล้วมืด แต่ที่จริงแล้วภาพย้อนแสงไม่ว่าจะเป็นภาพสี หรือขาว–ดำ
ก็ตามจะช่วยให้เราเรียนรู้เรื่องรูปร่าง (Shape) ของวัตถุที่บังแสงอยู่ นักถ่ายภาพ
อาชีพมักจะเสาะแสวงหาภาพประเภทนี้อยู่เสมอ เพราะภาพย้อนแสงจะให้ทั้งความงาม
ให้อารมณ์ ให้สีสันรุนแรง ให้ความแปลกตาไปอีกลักษณะหนึ่งการถ่ายภาพย้อนแสง
ควรถ่ายให้ภาพมีช่วงความชัดลึก โดยเปิดช่องรับแสงให้แคบกว่าปกติเล็กน้อย
พยายามเลือกวัตถุที่มีโครงร่างที่สวยงามหามุมย้อนแสง โดยวางจังหวะของดวงอาทิตย์
ให้พอดี
D60 clubขอเสนอการเขียนภาพด้วยแสงไฟ
การ ถ่ายภาพแบบให้แสงไฟสีต่าง ๆ ต้องใช้ห้องที่มืดสนิทโดยมีฉากผ้าหรือกระดาษสีดำ แสงไฟสีทำได้โดยใช้ไฟฉายธรรมดาขนาดเล็ก หุ้มกระดาษแก้วสีต่าง ๆ ตามความต้องการ จัดตั้งไฟแฟลชให้ส่องตรงไปยังแบบ แบะอาจใช้แฟลชอีก 1 ดวง ติดสนูท (Snoot) เป็นกรวยบีบแสง ให้ส่องตรงไปเฉพาะจุดที่ผมเพื่อมิให้ตัวแบบกลืนไปกับความมืดของฉากหลัง
เมื่อ จัดฉากเรียบร้อยแล้วให้แบบยืนแสดงท่าตามต้องการ ให้ผู้วาดเส้น แสง สี คลุมพาดดำถือไฟฉายหุ้มกระดาษแก้วสี ยืนด้านหลังของแบบกล้องถ่ายภาพต้องตั้งบนขาตั้งกล้อง เปิดความเร็วชัตเตอร์ที่ B ส่วนช่องรับแสงตั้งไว้ที่ f11 เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยแล้วก็ให้กด ชัตเตอร์ ผู้วาดเส้นจะเริ่มเปิดไฟฉายวาดแสงสีต่าง ๆ ตามต้องการ เช่น ใช้กระดาษแก้วสีแดงวาด 15 วินาที แล้วเปลี่ยนกระดาษแก้วเป็นสีฟ้า 10 วินาที กระดาษแก้วสีเหลืองอีก 5 วินาที หลังจากนั้นผู้วาดแบบจะออกมาจากฉากเปิดไฟแฟลช 1 ครั้ง แล้วปิดชัตเตอร์จะได้ภาพตามต้องการ
ส่วนภาพแสงเทียนประกอบกับดอกไม้ไฟ นั้น ก็จัดฉากให้เป็นสีดำ จัดแบบเทียนไขสีต่าง ๆ ให้ได้ขนาดตามต้องการ ตั้งบนแผ่นไม้รองเทียนที่มีขาตั้งสีดำกลมกลืนกับความมืด กล้องถ่ายภาพตั้งบนขาตั้งกล้อง เปิดความเร็วชัตเตอร์ที่ B ช่องรับแสงเปิดที่ f11 เมื่อเรียบร้อยแล้ว จุดเทียนไขกดชัตเตอร์ใช้เวลาประมาณ 5 วินาที จากนั้นให้ผู้ช่วยที่คลุมผ้าดำ จุดดอกไม้ไฟวนไปมารอบเทียนไขอีกประมาณ 3 – 5 วินาที แล้วปิดชัตเตอร์
D60 clubขอเสนอการถ่ายภาพเคลื่อนไหว (Action)
การถ่ายภาพเคลื่อนไหว หมายถึง การถ่ายภาพของวัตถุที่เคลื่อนไหว เช่น คนวิ่ง กระโดดโลดเต้น เล่นชิงช้ากระโดดสูง
ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน รถกำลังแล่น หรือการแข่งขันกีฬาด้านความเร็วประเภทต่าง ๆ การถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนไหว
ดังกล่าวอาจจะทำได้ใน 3 ลักษณะ คือ
1. การจับภาพวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวให้หยุดนิ่ง (Stop – action) การถ่ายภาพในลักษณะนี้ต้องตั้งความเร็วชัตเตอร์ให้สูง
เช่น 1/250, 1/500 หรือ 1/1000 วินาที ตามความเหมาะสมกับความเร็วของวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ เมื่อตั้งความเร็วชัตเตอร์
สูง ๆ จำเป็นต้องเปิดช่องรับแสงให้กว้างขึ้น เพื่อชดเชยให้แสงผ่านเข้าไปทำปฏิกิริยากับฟิล์มให้มากพอ
การถ่ายภาพวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวให้หยุดนิ่งได้นั้น จะตั้งความเร็วชัตเตอร์เท่าใดย่อมขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 4 ประการ คือ
1) ความเร็วของวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหว
2) ทิศทางการเคลื่อนไหวของวัตถุ
3) ระยะทางจากกล้องถึงวัตถุ
4) ความยาวโฟกัสของเลนส์
2. การถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนไหวดูแล้วให้รู้สึกว่าเหมือนกำลังเคลื่อนไหว การถ่ายภาพในลักษณะนี้ ต้องตั้งความเร็วชัตเตอร์
ให้ช้า ๆ เช่น 1/30 วินาที, 1/15 วินาที หรือ 1/8 วินาที เป็นต้น เมื่อตั้งความเร็วชัตเตอร์ช้า ก็ต้องเปิดช่องรับแสงให้เล็กลง
ภาพที่ได้จะปรากฏว่าสิ่งที่กำลังเคลื่อนไหวจะดูพร่า ทำให้เห็นว่าวัตถุนั้นกำลังเคลื่อนที่ส่วนวัตถุหรือสิ่งที่อยู่นิ่งจะคมชัด
และการถ่ายภาพลักษณะนี้ควรจับถือกล้องให้นิ่งและมั่นคง หรือควรใช้ขาตั้งกล้องช่วย เพื่อไม่ให้กล้องสั่นไหว
3. การถ่ายภาพวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวให้เห็นวัตถุชัด ส่วนฉากหลังพร่ามัวเป็นทางยาว การถ่ายภาพในลักษณะนี้ จะต้อง
แพนกล้อง (Paning) ตามวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหว พร้อม ๆ กับการกดไกชัตเตอร์ ความเร็วชัตเตอร์ความตั้งให้ช้า เช่น
1/60วินาที,1/30วินาทีหรือช้ากว่าทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเร็วของวัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยการปรับระยะชัดให้ปรับไปตรงจุดที่วัตถุ
เคลื่อนที่ผ่าน
การถ่ายภาพหุ่นนิ่ง (Still life)
การ ถ่ายภาพหุ่นนิ่ง หมายถึง การถ่ายภาพวัตถุสิ่งของต่าง ๆ เช่น แจกันดอกไม้ ถ้วยจานช้อนซ้อม ขวดเหล้า เบียร์ แก้ว บุหรี่ น้ำหอม เสื่อผ้า รองเท้า ผัก ผลไม้ อาหาร ฯลฯ จุดมุ่งหมายส่วนใหญ่ก็เพื่อนำภาพไปจัดทำเป็นสื่อในการโฆษณา เช่น ทำปกหนังสือ วารสาร โปสเตอร์ หรือสิ่งพิมพ์อื่น ๆ
การฝึกถ่ายภาพหุ่นนิ่ง จะช่วยให้เราได้เรียนรู้เทคนิคต่าง ๆในการถ่ายภาพได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้เพราะวัตถุสิ่งของต่าง ๆที่นำมาถ่ายภาพจะอยู่นิ่งไม่เคลื่อนไหวเราสามารถทดลองจัดภาพได้หลาย ๆแบบตามต้องการ ส่วนการใช้แสงก็ทำได้หลายลักษณะ อาจใช้แสงธรรมชาติ แต่ส่วนมากมักใช้แสงไฟประดิษฐ์ เพราะสามารถควบคุมทิศทางตลอดจนปริมาณของแสงสว่างได้ตามความเหมาะสม
D60 clubขอเสนอขั้นตอนการถ่ายภาพหุ่นนิ่ง
1. จัดสถานที่ได้แก่ โต๊ะชุดสำหรับถ่ายภาพหุ่นนิ่งประกอบด้วยขาตั้งเหล็ก หรืออลูมิเนียมมีแผ่นพลาสติกสีต่าง ๆ เช่นสีขาว ดำ น้ำเงิน และม่วง เป็นที่วางวัตถุที่จะถ่ายภาพ ผิวหน้าของแผ่นพลาสติกมี 2 ด้าน ด้านหนึ่งผิวด้าน ส่วนอีกด้านหนึ่งผิวจะมัน คุณสมบัติของแผ่นพลาสติก คือถ้าใช้ไฟส่องด้านบนจะได้แสงตกกระทบธรรมดา แต่ถ้าใช้ไฟส่องจากด้านล้าง แสงจะสามารถทะลุพื้นพลาสติกขึ้นด้านบนสามารถใช้เป็นแสงสำหรับลดเงา หรือใช้เป็นแสงส่องจากพื้นล้างและด้านหลังของวัตถุ
2. ออกแบบ สเก็ตภาพ (lay – out) การจัดวางองค์ประกอบของวัตถุ ซึ่งจะทำให้ผู้ร่วมงานเข้าใจรูปแบบและแนวคิด สามารถจัดหาวัตถุประกอบฉาก ตลอดจนการจัดภาพได้ถูกต้องและรวดเร็วขึ้น
3. จัดหาวัตถุ สิ่งของ ที่จะถ่ายภาพ ถ้าเป็นประเภทผัก ผลไม้ ควรเตรียมไว้ให้มากพอ คอยฉีดน้ำดูแลให้สดอยู่เสมอ
4. นำวัตถุสิ่งของที่จะถ่าย วางบนโต๊ะถ่ายภาพ โดยจัดวางตามแบบที่สเกตภาพไว้
5. ทดลองจัดแสง ซึ่งอาจใช้หลอดไฟทังสเตน ถ้าเป็นการถ่ายภาพชิ้นเล็ก ๆ ก็ใช้สปอตไลท์ 500 วัตต์ 2-3 ดวงแต่ถ้าเป็นการถ่ายภาพขนาดใหญ่ ก็ต้องใช้ไฟที่มีกำลังวัตต์สูง ๆ เช่น 2000 วัตต์ถึง 5000 วัตต์ โดยใช้ผ่านแผ่นกรองแสงเพื่อให้ได้แสงที่นุ่มนวล ใช้แผ่นสะท้อนแสงลดเงาและอาจใช้ไฟส่องฉากหลัง เพื่อเน้นวัตถุให้เห็นเด่นชัดในปัจจุบันนิยมใช้แฟลชอิเลคทรอนิคส์ มีอุปกรณ์ เช่น ร่มสะท้อนแสง จานสะท้อนแสง ประตูโคม (Barn doors) กรวยแสง (Snoot) ซึ่งจะให้ความสะดวก สามารถบังคับทิศทางและปริมาณของแสงได้ตามต้องการ
6. กล้องสำหรับถ่ายภาพหุ่นนิ่ง ถ้าไม่จำเป็นต้องนำภาพไปขยายให้ใหญ่มาก ก็อาจใช้กล้อง ขนาด 35 มม.แต่ถ้าต้องการขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ ก็ควรใช้กล้องขนาดกลางที่ใช้ฟิล์มขนาด 4” x 5” กล้องถ่ายภาพต้องตั้งบนขาตั้งกล้องให้มั่นคง เพราะการถ่ายภาพหุ่นนิ่งต้องการภาพที่ละเอียดชัดเจน และชัดลึกจึงต้องเปิดช่องรับแสงให้แคบมาก ๆ เช่น f16 ฉะนั้นความเร็วชัตเตอร์ จะต้องช้ามากเพื่อให้สัมพันธ์กับขนาดช่องรับแสง
D60 clubขอเสนอการถ่ายภาพบุคคล (Portraits)
การ ถ่ายภาพบุคคล เป็นการบันทึกโครงสร้างลักษณะ และความนึกคิดของ ผู้ถ่ายภาพ และผู้ถูกถ่ายภาพฉะนั้นภาพถ่ายบุคคลจึงเปรียบเสมือนตัวแทนบุคคลที่ถูกถ่าย และ
ผู้ถูกถ่ายภาพ ฉะนั้น ภาพถ่ายบุคคลจึงเปรียบเสมือนตัวแทนบุคคลที่ถูกถ่าย ทั้งในด้าน
ความนึกคิดและลักษณะท่าทาง ภาพถ่ายบุคคลที่ดีควรแสดงออกใน 2 ประการ คือ
1. ความนึกและการสร้างสรรค์ของผู้ถ่ายภาพ
2. สามารถแสดงบุคลิกของผู้ถูกถ่ายได้เป็นอย่างดี
ภาพถ่ายบุคคลที่แสดงออกได้ทั้ง 2 ประการดังกล่าว จำเป็นต้องมีความเข้าใจในองค์ประกอบต่าง ๆดังนี้คือ
1. การจัดเสื่อผ้าให้เหมาะสมกับบุคลิกและอาชีพ
2. การจัดฉาก อาจจัดในสตูดิโอ หรือฉากธรรมชาติ
3. การจัดภาพ จัดท่าทาง ของผู้เป็นแบบ
4. การจัดแสง อาจใช้แสงธรรมชาติ หรือแสงไฟประดิษฐ์
5. การเลือกใช้กล้อง ฟิล์ม แผ่นกลองแสงและเลนส์ในการถ่ายภาพให้เหมาะสม เลนส์ที่ใช้ในการถ่ายภาพบุคคลควรเป็นเลนส์ถ่ายภาพระยะไกล ความยาวโฟกัสประมาณ 105 มม. หรือ 135 มม.
6. การเลือกมุมกล้องในการถ่ายภาพ
D60 clubขอเสนอการถ่ายภาพเด็ก
การ ถ่ายภาพเด็กเป็นการบันทึกภาพความไร้เดียงสา ความน่ารัก ความบริสุทธิ์ตลอดจนความสนุกสนานร่าเริง ไว้ในแผ่นภาพ ลักษณะธรรมชาติของเด็กนั้นมักไม่ชอบอยู่นิ่งและ ชอบซุกซนตลอดเวลา ฉะนั้นก่อนถ่ายภาพควรให้เด็กได้เล่นอยู่กับของเล่น
ที่ถูกใจเล่นกับสัตว์ เลี้ยง หรือทำความสนิทสนมกับเด็ก เล่าเรื่องสนุกสนาน ทำท่าทางตลกและชักชวนให้เด็กทำสิ่งที่เขาชอบ ผู้ถ่ายภาพต้องคอยกดไกชัตเตอร์ในจังหวะที่เด็กกำลังอยู่ในท่าทางและอารมณ์ ที่เป็นตัวของตัวเองตามธรรมชาติมากที่สุด
การถ่ายภาพเด็กไม่ควรบังคับ เด็กของตัวเองให้ตั้งทางต่าง ๆ ซึ่งจะได้ภาพที่แข็งไม่เป็นชีวิตจริง เสียลักษณะความเป็นธรรมชาติ แต่ควรบันทึกพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของเขาไว้ เช่น การเรียนการเล่นหรือแม้แต่กำลังร้องไห้น้ำตาไหลภาพต่าง ๆ เหล่านี้ อาจแสดงให้เห็นถึงความซุกซน ความดื้อรั้น และอารมณ์ต่าง ๆ ซึ่งจะให้ความน่ารักความประทับใจเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้ได้ภาพ
ถ่ายที่มีลักษณะเป็นธรรมชาติ ควรใช้การถ่ายภาพทีเผลอ (Candid photography) หมายถึง การแอบถ่ายโดยใช้แสงธรรมชาติ
ไม่ควรใช้ไฟแฟลช เพราะแสงไฟจะทำให้เด็กรู้สึกตัว อาจทำให้พลาดโอกาสที่ดีไปได้
ร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยครับ...
ป้ายกำกับ:
เทคนิคถ่ายภาพ,
d60 club